วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การปิด Course...กับความทรงจำและความรู้ที่ได้รับ

          มีคนหลายคนบอกว่า..เมื่อเราเจอและรับรู้ประสบการณ์ใหม่มากๆ มันจะไปทับทมประสบการณ์เดิมๆ ที่เราเคยเจอมา แต่ !! ดิฉันกับคิดว่าไม่จริง !! เพราะประสบการณ์ใดก็ตามที่เราได้รับมารับย่อมจำได้เสมอขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจำหรืออยากลืมมันเองนั่งเอง ยิ่งที่ถ้าประสบการณ์ที่ดีจะมีใครบ้างที่อยากจะลืม เหมือนกันดิฉันที่ได้มาเจอเพื่อนๆ ปฐมวัยที่จันทรเกษมทั้งเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มและเพื่อนๆ ร่วมเอกทุกคน ทำให้ดิฉันรับประสบการณ์มากมายและเจอคุณครูที่อยู่ที่นี้ "การที่ครูขึ้นเสียงใช่ว่าครูไม่รักหรือเบื่อนักศึกษาสักนิด แต่ครูอยากให้นักศึกษาจบไปเป็นครูที่ดี มีคุณภาพ ท่านจึงได้เขี้ยวเข็ญเรา" ดิฉันมีภาพครั้งแรกของการเข้าเรียนและสรุปองค์ความรู้ ดังนี้



วันแรกของการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก




สรุปองค์ความรู้




วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชยครั้งที่ 2

วันอาทิตย์ 29 กันยายน 2556


กิจกิจกรรมในห้องเรียน

          วันนี้เป็นการเรียนชดเชยครั้งที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์การทดลอง ของเข้ามุม และของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของตนเองหน้าชั้นเรียน ซึ่งการทดลองของดิฉันคือ การตั้งไข่ (สามารถดูรายละเอียดการทดลองได้จาก blog ด้านล่าง)
          
ต้องมีการเซ็นชื่อก่อนเข้าเรียน

รูปภาพ : การเซ็นชื่อก่อนเข้าห้องเรียน

องค์ความรู้ในวันนี้

          วันนี้ดิฉันได้นำเสนองานและส่งงานที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนมากมาย คือ การจะสอนอะไรให้กับเด็กเราต้องนำเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กมาสอน มาคุยกับเด็ก ไม่ใช่นำเรื่องที่เด็กไม่รู้หรือห่างจากตัวเด็กมากเกินไปมาคุยเพราะเด็กจะไม่ได้รับอะไรเลยจากการสอนของเรา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ในวันนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องแรงเสียดทานที่ใกล้ตัวเด็กคือ กระดานลื่น ที่เด็กๆ เล่นอยู่ทุกวันนั่นเอง แต่ที่ดิฉันได้เตรียมไว้นำเสนอคือ การนำแรงเสียดทานไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของ การผลิตรองเท้าที่เวลาพื้นเปียกแล้วเด็กๆ เดินเข้าไปรองเท้ากับพื้นจะเกิดปฏิกิริยากันเกิดเป็นแรงเสียดทาน ทำให้เราเดินย้ำน้ำได้ช้าลงและทำให้เราไม่ลื่นหกล้มนั่นเอง

การนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่อง การตั้งไข่

รูปภาพ : ลำดับการสอนวิทยาศาสตร์เรื่อง การตั้งไข่


รูปภาพ : การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน


Concept และวิธีการทำสื่อเข้ามุม

รูปภาพ : การทำสื่อเข้ามุม


สื่อต่างๆ ที่เพื่อนกลุ่ม 103 นำส่งอาจารย์

รูปภาพ : รวมการส่งสื่อ กลุ่ม 103


เก็บตกภาพบรรยากาศการนำเสนองานในห้องเรียน





วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ 16

วันพุธ ที่ 25 กันยายน 2556

กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์จิตนา  สุขสำราญ ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับการสอบ การเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน 2556 และรวมรูปเล่มการศึกษาดูงาน
          และอาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น อาจารย์แจกสีไม้และสีเมจิก คนละ 1 กล่อง พร้อมกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่สั่งในวันนี้
         1. ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ลง Blogger ของตัวเอง ดังต่อไปนี้
                 1.1  บทความ
                 1.2  TV ครู
                 1.3  วิจัยที่ตัวเองเลือก
         2.  ให้นักศึกษาประเมินผู้สอนทาง Online ในเว็บไซต์ของคณะศึกษาศาสตร์



รูปภาพ : กิจกรรมในห้องเรียน







สรุปองค์ความรู้จาก Thai Teachers TV


Early Years Workshop : เวิร์กชอป ระดับปฐมวัย : การฟังและการตั้งคำถาม  : การอภิปราย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


       
        จากคลิปวีดีโอข้างต้น การฟังและตั้งคำถาม : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
        
        เด็กตั้งคำถามได้อย่างไรและทำไม
        ยาน ดูเบียว เจ้าหน้าที่ แผนงานระดับปฐมวัย จากโปรแกรมวัดผลแห่งชาติ กล่าวว่า คำถามอาจไม่ได้พูดออกมาแต่จะส่งทางการกระทำครูต้องพัฒนาทักษะความเข้าใจเมื่อเด็กตั้งคำถาม ดูการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่นดูว่าความคิดเขาไปถึงไหน คำถามของเด็กมักถามเวลาเด็กสำรวจโลกของเขา
        ไดแอน ริช์ จาก "ริช เลิร์นนิ่ง ออพพอทูนิทีส์" กล่าวว่า เด็กตั้งคำถามตลอดเวลา เด็กคือนักสำรวจโดยธรรมชาติ ระหว่างสำรวจสิ่งใดก็ตามเด็กจะตั้งคำถามเสมอ
        คริส รอส ครูโรงเรียนเนิร์สเชอรี อีฟแชม กล่าวว่า เขาจะตั้งคำถามบ่อยครั้งเด็กจะตั้งคำถามในวิธีที่แตกต่างมากมาย

ณ โรงเรียนเนิร์สเชอรี อีฟแชม
           วันนี้เด็กๆ ได้เล่นน้ำที่เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเด็กเลือกอยากจะเล่นเอง/ตัดสินใจเอง เด็กไม่กลัวเปียก ทำให้รองเท้า ถุงเท้าและเท้าของเด็กเปียกหมดความมหัศจรรย์ของน้ำทำให้เด็กสำรวจอย่างสนุกสนาน เด็กจะมีสมาธิมากในกิจกรรมที่พวกเขาเลือกเอง ผู้ใหญ่มีหน้าที่สังเกตเด็กใช้น้ำอย่างไร? บางครั้งเด็กเล่นเองครูก็เหมือนไม่มีส่วนร่วมถ้าไม่ได้ไปคลุกคลีกับเด็ก สำหรับครูการนำประสบการณ์นั้นมาใช้และพูดว่า "เราจะทำให้เด็กตั้งคำถามเองให้มากกว่านี้ได้อย่างไร เราจะวางหลักและสนับสนุนการเรียนรู้ในอนาคตให้เด็กได้อย่างไร" นั้นสำคัญ แต่สิ่งที่ครูต้องเตรียม คือ การเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กมากขึ้นแล้วค่อยหาอุปกรณ์ที่ตั้งคำถามได้มากขึ้นสร้างปัญหาขึ้นเพื่อให้เด็กหาทางแก้ แผนที่วางเอาไว้เด็กต้องตอบสนองได้อย่างดี
           มีเด็กคนหนึ่งที่ชอบทดลองหยิบจับนู้นนี้นั้นเด็กยังส่งผ่านไปยังคนอื่นให้เพื่อนๆ ช่วยทดลองโดยไม่พูดกันเลย พวกเขามีทักษะทางสังคม
           จะมีเด็กคนหนึ่งไม่ทำอะไร จนกระทั่งเห็นเพื่อนๆ เขาก็ตั้งคำถามขึ้นมา "พวกเขาทำอะไรอยู่? ถ้าฉันทำบ้างจะเป็นอย่างไร? อยากรู้ว่าจะทำอะไรได้อีก? ฉันทำบ้างได้ไหม?" เด็กจึงได้ร่วมกันทำกิจกรรม


รูปภาพ : การทำงานของเด็กที่ทำร่วมกัน คัดลอกจาก : TV ครู
           
           เด็กคนหนึ่งถือถังน้ำ อีกคนรินน้ำจากข้างบน อีกคนรองน้ำจากก๊อก แต่ไม่มีเสียงพูดกันเลย ที่เด็กบอกว่า "น้ำจะล้นแล้ว" แล้วดูต่อคือการคาดเดาหรือสันนิษฐาน เหมือนนักวิทยาศาสตร์บอกว่า "ฉันคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น"

           พอเด็กได้ออกนอกสถานที่ (พื้นที่ป่าของโรงเรียน) เด็กสำรวจแหล่งที่มาของน้ำได้ว่าไม่ได้มาจากก๊อกเท่านั้น ให้เด็กดูว่าน้ำเหมือนกันหรือไม่? เข้าใจที่มาของน้ำและการไหลของน้ำเพราะเด็กได้เห็นกับตาตัวเอง



รูปภาพ : แรงจูงใจของเด็กในการทำกิจกรรม

          เราต้องกล้าที่จะปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ปลูกฝังวินัยการตั้งคำถาม/การสำรวจให้พวกเขาได้



การนำไปประยุกต์ใช้


          ทำให้ดิฉันทราบว่าการสอนเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องไปตั้งคำถามให้เด็กเสมอๆ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นช่วงของการเรียนรู้ การอยากรู้อยากลองอยู่แล้วจึงทำให้เขาสงสัยและป้อนคำถามมาเอง แต่มิใช่ว่าผู้ใหญ่จะไม่สนใจหรือปล่อยปะละเลยเด็กแต่ผู้ใหญ่ควรให้คำตอบสำหรับเด็กให้ได้มากเท่าที่ควรและเตรียมสื่ออุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มาก ที่สำคัญให้เหมาะสมกับวัยเพื่อเด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกันเป็นประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์ตรงสำหรับเด็ก          



สรุปบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ



          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวความรู้ทางวิทยาศาสตร์
          เด็กเล็กๆ มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม ทำให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมสิ่งที่อยู่รอบตัวด็ก เด็กสามารถสังเกตเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก


รูปภาพ : แนวความคิดของ Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 )


รูปภาพ : แนวความคิดของอัญชลี ไสยวรรณ (2547 :1-6 )


รูปภาพ : กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย


การนำไปประยุกต์ใช้

          วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวกับเด็กและมนุษย์เราทุกคน ผู้ใหญ่ที่ไม่จำเป็นเฉพาะครูปฐมวัยเท่านั้นควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย ให้เด็กได้เข้าใจและรู้ทันการก้าวหน้าของโลกเรา และการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กแต่ถ้าหากเรานำการสอนที่ยากๆ นี้มาจัดเป็นกิจกรรม การประดิษฐ์สื่อ การทดลอง การศึกษาจากสถานที่จริง (ทุกอย่างต้องปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้กระทำ) จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาส่วนหนึ่งสำหรับการสอนของเด็กปฐมวัย

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์
ของ
สุมาลี  หมวดไธสง

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2554
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


รูปภาพ : Mindmapping การสรุปวิจัย


ภาพส่วนหนึ่ง : จากงานวิจัย



วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15

วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556


          กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาในกลุ่มลิงค์บล็อกกับอาจารย์เองและให้นักศึกษาทำไข่ตุ๋น โดยการปฏิบัติจริงในห้องเรียนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่เราได้เรียนทฤษฏีไป

รูปภาพ : การทำไข่ตุ๋นง่ายๆ

รวมรูปภาพการทำงาน




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชยครั้งที่ 1

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556


         กิจกรรมในห้องเรียน
         วันนี้เป็นการเรียนชดเชยครั้งที่ 1 เนื่องจากมีการงดการเรียนการสอน 2 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นการเรียนไม่ทันและสอนให้ครบอาจารย์จึงได้นัดหมายนักศึกษามาเรียนชดเชยในวันดังกล่าวสอนโดยอาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันและได้แจกกระดาษชาร์บแผ่นใหญ่ให้นักศึกษา 4 แผ่นให้นักศึกษาทำงานในหัวข้อดังนี้ต่อไปนี้และให้นำเสนอเป็น Mindmapping

         องค์ความรู้ในวันนี้
            แผ่นที่ 1 การสอนเด็กทำอาหาร
            แผ่นที่ 2 เลือกอาหารจากแผ่นที่ 1 (ที่คิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์) กลุ่มของดิฉันเลือก "ไข่ตุ๋น"
            แผ่นที่ 3 วิธีการทำไข่ตุ๋น
            แผ่นที่ 4 การทำแผนการสอน ชื่อกิจกรรม "ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง"

         และไข่ตุ๋นเราก็จะนำไปทำจริง ปฏิบัติจริงในวันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556 (ซึ่งเป็นวันเวลาการเรียนการสอนตามปกติ)โดยอาจารย์ให้นักศึกษาจัดการกันเองซื้อของ/จัดเตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์ทุกอย่าง โดยมีอาจารย์ค่อยเป็นผู้แนะนำเบื้องหลัง

            * สามารถดูรายละเอียดได้จากรูปภาพด้านล่างคะ *




รวมรูปภาพการทำงานในห้องเรียน





วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14

วันพุธ ที่ 11 กันยายน 2556


          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจในคณะศึกษาศาสตร์
แต่อาจารย์นัดชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556




สัปดาห์ที่ 13

วันพุธ ที่ 4 กันยายน 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจในคณะศึกษาศาสตร์






สัปดาห์ที่ 12

วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้พานักศึกษาไปศึกษาดูงาน 2 แห่ง ดังนี้ 
          1. สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
          2. โรงเรียนลำปายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์


ซึ่งรายละเอียดติดตามได้ใน Blogger ด้านล่างได้เลยคะ




วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

         ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 กับอาจารย์จินตนา สุขสำราญ อาจารย์ประจำวิชาและเพื่อนกลุ่ม 103 จากที่ได้ไปะไม่มีศึกษาทำให้ทราบว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเป็นโรงเรียนกบนอกกะลา พื้นที่ในโรงเรียนมีแต่ป่า ต้นไม้ ร่มรื่น มีการปลูกผักสวนครัว ผลไม้บางชนิด เช่น สัปรด และชมพู่ ฯลฯ และที่โรงเรียนปรุงอาหารโดยไม่มีผงชูรส ผักก็ปลอดสารเคมี เด็กๆ ที่นี้จะเรียนรู้บูรณาการกับแบบวิถีชุมชน เช่น ปลูกข้าว เกี่ยวข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา และ ฯลฯ
        ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ณ หน้าเสาธง (ตอนเช้า 08.00)
          เด็กๆ เข้าแถวเคราพธงชาติ แต่ไม่ผู้นำร้องและที่นี้ยังเผยเมตตาเป็นทำนองอีกด้วย การปล่อยแถวจะมีครู*มอนิเตอร์ (ครูเวร) ปล่อยทีละแถวจากน้องอนุบาล 1-พี่มัธยมปีที่ 3 และน้องอนุบาล1 กับพี่อนุบาล 2 จะไปไต่เชือกข้ัามฝั่งก่อนเข้าห้องเรียน และวันนี้มีครูจากฉะเชิงเทราปัญญานุกูลมาศึกษาดูงานเช่นกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันด้วยในการถามโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


VDO : แนะนำโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


แนะนำการจัดการเรียนการสอนนักเรียน รร.ลำปลายมาศพัฒนา

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 รร.ลำปลายมาศพัฒนา


ณ ลานหน้า ห้องอนุบาล 2
          จากคลิปวีดีโอจะมีนักศึกษาฝึกงาน 2 คน (ทำกิจกรรมด้านหน้า) และครู 1 คน (คนที่ตีกลอง) เด็กเล็กที่นี้จะไม่นั่งสมาธิเพราะเด็กยังไม่เข้าใจและขัดธรรมชาติของเด็กคือเด็กสมาธิสั้น ถ้าครูให้เด็กหลับตาเขาก็มักจะลืมตาดูว่าครูทำอะไร แต่ที่นี้บอกว่า "อะไรก็ตามที่เด็กได้จดจ่อสิ่งนั้นคือสมาธิ" เช่น โยคะ และปั้นดินน้ำมัน เด็กที่นี้จะเรียกชื่อเล่นเหมือนทุกที่ทั่วๆ ไป การกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมเด็กจะยังดูไม่ออกหรอกว่าตอนนี้กี่โมงแต่เด็กจะรู้แค่ว่าถ้าเข็มนาฬิกาสั้นชี้ที่เลข 9 เข็มยาวชี้ที่เลข 12 แสดงว่าหมดช่วงเวลากิจกรรมนั้นแล้ว บุคลากรที่นี้จะเรียกพี่ (ตามด้วยชื่อเด็ก) ตั้งแต่อนุบาล 2 ขึ้นไปและจะไม่มีหัวหน้าห้องแต่มี *มอนิเตอร์ <คือผู้นำ> จากคลิปจะเห็นว่ามีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้รับหน้าที่เป็นมอนิเตอร์ตามที่ครูกำหนดขึ้น น้องจะยกมือไหว้ครูก่อน แล้วเดินแตะเพื่อนที่นั่งเรียบร้อยที่ละคนจนครบหมด มอนิเตอร์จะไหว้เพื่อนทุกคนและเพื่อนก็จะรับไหว้มอนิเตอร์เพื่อทุกคนก็จะไปไหว้ครูและกอดครูก่อนเข้าห้อง ขณะที่ไว้และกอดนั้นเด็กจะเอ่ยชื่อครูก่อนแล้วครูจะเอ่ยชื่อเด็กกลับ เช่น เด็ก : สวัสดีคะครูก้อย ครู : สวัสดีคะพี่น้ำ เป็นต้น

ณ สนามเด็กเล่น
          โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จะไม่มีการซื้อเครื่องเล่นพลาสติกมาให้ที่โรงเรียนแต่จะใช้ของที่อยู่ตามท้องถิ่นมาทำเป็นของเล่นให้เด็กปฐมวัย เช่น กระลา ไม้ไผ่ เป็นต้น และก็จะได้รับการร่วมมือกับผู้ปกครองของเด็กมาช่วยกันสร้างเครื่องเล่น ก่อนเปิดเทอมผู้ปกครองจะมาขนทรายเข้าสนามเด็กเล่นเป็นอย่างนี้ทุกปีเพราะเด็กบางคนชอบขนทรายออกจากสนาม



รูปภาพ : สนามเด็กเล่น รร.ลำปลายมาศพัฒนา


ณ ภายในห้อง อนุบาล 2     



          เด็กๆ จะนอนรอครูเป็นปลาดาวอยู่ในห้อง ครูเก็บเด็กด้วยการเล่าเรื่องปลาดาว (เด็กบางคนก็จะจินตนาการไปกับครูแล้วทำท่าทางตามจินตนาการ) และครูพาเด็กบริหารหาย เป็นสัตว์ ดังนี้ ผีเสื้อ หงส์ จระเข้ ตั๊กแตน นายพราน และสะพาน ทุกอย่างจะสอนการนับ 1-10 ทั้งไทย - อังกฤษในการบริหารกาย

 ท่าบริหารกาย
      ผีเสื้อ พับขาซ้าย-ขวา เข้าหาตัวแล้วกะพรือขา จะเป็นปีกผีเสื้อบินและผีเสื้อก้อจะก้มลงให้หน้าจรดพื้นเป็นการสูดดมเกสร
      หงส์ ยึดแขนซ้าย-ขวา ไปด้านหลังให้สุด แล้วหายใจเข้าลึกๆ นับ 1-10 
      จระเข้ นอนคว่ำโดยงอแขนซ้าย-ขวามาลองเป็นหมอนให้เจ้าจระเข้นอน
      ตั้กแตน ยึดแขนซ้าย-ขวาผสานกันไปด้านหลังให้สุด และยึดขาทั้งสองข้างให้สุด
       นายพราน ยกตัวจากตั้กแตนขึ้นลง เพื่อนเป็นธนูให้นายพรานยิง
       สะพาน นอนหงายใช้แขนและขาดันตัวเองขึ้น ให้ตัวโค้งเหมือนสะพาน

ณ ห้องประชุม
          - มีการเปิดวีดีทัศน์นำเสนอโรงเรียน เนื้อหาดังนี้
           
รูปภาพ : สิ่งที่ลดให้กับเด็กปฐมวัย

รูปภาพ : สิ่งที่สร้างให้กับเด็กปฐมวัย

รูปภาพ : การปรับพฤติกรรมโดยใช้เชิงบวก
          
         - เด็กจะได้ปลูกข้าว/ถอดกล้า และมีผู้ปกครองมาสอนเรื่อง การปลูกข้าว/ถอดกล้าและสาธิตให้เด็กๆ ทำตาม
        - มีการสอนการจับปลาและจับกบ ในทุ่งนาหรือในบ่อเลี้ยง
        - โรงเรียนจะมีการให้บุคคลข้างนอกมาอบรมและครูในโรงเรียนอบรมทุก เสาร์-อาทิตย์
        - ครูทุกคนที่โรงเรียนจะทำแผนออนไลน์ล่วงหน้าก่อน 1 สัปดาห์สำหรับการสอน
        - การสอนของครู ครูประจำชั้นจะสอนเองยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษที่มีครูมาสอนหรือชาวต่างชาติมาสอนแทน
                 

ของฝากจาก รร.ลำปลายมาศพัฒนา ติดไม้ติดมือกลับมหาวิทยาลัย

รูปภาพ : ของฝากจาก รร.ลำปลายมาศพัฒนา
รูปภาพ : สื่อจาก รร. ลำปลายมาศพัฒนา

รูปภาพ : สื่อจาก รร.ลำปลายมาศ





ศึกษาดูงานรร.สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
        
          โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นหน่วยงานสังกัดคณะครุศาตร์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ.2551 รงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกาา รอบที่ 2 จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน การศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยมีการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน


รูปภาพ : วัตถุประสงค์ของ รร.สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
รูปภาพ : คำขวัญของ รร. สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
          
         เมื่อคณะเราเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทางคณาจารย์ที่มหาวิทยาลัยก็ต้อนรับเราเป็นอย่างดี ขณะที่เราไปถึงฝนก็ลงเม็ดปรอยๆ คณาจารย์ที่ ม.ราชภัฏนครราชสีมาก็รีบจัดแจงคณะเรารีบไปดูงาน ซึ่งแบ่งตามห้องเรียนของเด็กปฐมวัย ตั้งแต่เด็กบริบาล - อนุบาล 2 และแถวของดิฉันได้รับหน้าที่ไปศึกษาเด็กอนุบาล 2 ซึ่งมีอยู่ 2 ห้อง ดังนี้

ณ ห้องอนุบาล 2  
          เราได้ไปศึกษาดูอนุบาล 2 ห้องที่ 2 ห้องเดียว เนื่องจากอนุบาล 2 ห้อง 1 มีเรียนดนตรีไทยจึงไม่ได้เจอเด็กๆ เราจึงได้ดูแต่ห้องอนุบาล 2/2 ตอนนี้เป็นชั่วโมงสอนของนักศึกษาฝึกสอน เด็กๆ ตั้งใจเรียนมาก ทั้งๆ ที่มีนักศึกษาหลายคนเข้าไปในห้องเพื่อศึกษาดูงาน เด็กๆ ก็ยังสนใจในชั้นเรียนและมีการปล่อยเด็กไปทำกิจกรรมศิลปะด้านหน้าห้อง ดังคลิปต่อไปนี้




จากใจโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา







การทำของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


          จากคลิปวีดีโอข้างต้น เป็นเรื่องของ "แรงโน้มถ่วง" ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้       
                    แรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม : เรื่องแรงโน้มถ่วง

VDO เรื่อง "แรงโน้มถ่วง"



 รวมรูปภาพ : การทำกิจกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์



วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

การทำของเข้ามุมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ชื่อผลงาน "T' Doraemon Pong Pong"




จากคลิป VDO เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเกิดเสียง
         เสียง เป็นคลื่นกลที่เกิดจากกการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่งสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการดอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสูญญากาศได้

ข้อมูลเพิ่มเติม : เสียงและมลภาวะทางเสียง
                                                                                                    :  เสียงกับการได้ยิน
                                                                                      
MindMapping : ขั้นตอนการทำของเข้ามุมวิทยาศาสตร์


เก็บตกภาพการทำงาน





วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การทดลอง "การตั้งไข่ง่ายนิดเดียว"


          จากคลิป เรื่องวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ "แรงเสียดทาน" เรามารู้จักกับแรงเสียดทานได้เลย....
         
         เรื่อง แรงเสียดทานเป็นเรื่องของนามธรรมการที่จะนำเรื่องแรงเสียดทานไปสอนเด็กปฐมวัย จึงเป็นเรื่องยากจะต้องมีการอธิบาย สาธิต ทดลอง และทดสอบ ไปพร้อมกันเพื่อให้เด็กเข้าใจมากขึ้น
         แรงเสียดทาน (frictional force) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิววัตถุกับพื้นที่สัมผัสและมีทิศตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
             
               ลักษณะของแรงเสียดทาน
               1. ไม่ขึ้นกับจำนวนพื้นที่ผิดสัมผัส
               2. ไม่ขึ้นกับความเร็วที่วัตถุเคลื่อนที่และมีทิศตรงข้ามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
               3. ขึ้นอยู่กับแรงที่วัตถุกดพื้นในแนวตั้งฉาก หรือ แรงปฏิกิริยาของพื้นในแนวตั้งฉาก
               4. ขึ้นกับพื้นผิวสัมผัส เช่น ขรุขระ หรือเรียบ

               ประโยชน์ของแรงเสียดทาน
               1. รองเท้าของเราจะมีดอกยางกันลื่นเวลาเดินย้ำน้ำ
               2. ใช้ผลิตดอกยางบนล้อรถทุกชนิดเพื่อการยึดเกาะบนพื้นท้องถนน ยกเว้นรถแข่งที่ไม่มีดอกยาง
อ้างอิงจาก : แรงเสียดทาน

เรื่อง แรงเสียดทาน


 
 
แบบฉบับร่าง : การทดลอง "การตั้งไข่ง่ายนิดเดียว"
 
 

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11

วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม 2556

          วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้นักศึกษารับผิดชอบงานของตนเองดังนี้
          1.  การทดลองว่าวใบไม้พร้อมโพสลงบล็อก
          2.  ทดลองการทดลอง 3 อย่าง คือ การทดลอง ของเล่น และของเข้ามุม


ว่าวใบไม้แห้ง


จัดทำโดย นางสาวสมฤดี  โพธิกะ

ว่าวใบไม้แห้ง
อุปกรณ์
          1. ใบไม้แห้ง (อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเก็บใบไม้สดแล้วแนบไว้ในหนังสือเรียน แต่ของดิฉันใบไม้เล็กเลยเก็บใบไม้สดมาทำใหม่และใบไม้แห้งในเวลา 1 สัปดาห์)
          2. เข็มและด้ายเย็บผ้าสีตามใจชอบ
          3. ไม้ไผ่ หรือ ตะเกียบที่ไม่ใช้แล้ว
          4. เศษกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อทำห่างว่าว
          5. กาวร้อนหรือกาวตาช้าง

วิธีการทำ
          1. นำใบไม้แห้งมาประกบคู่กันให้เหมือนปีกผีเสื้อแล้วใช้เข็มใส่ด้ายเย็บให้ติดกันโดยดูว่าแน่นพอแล้ว (เคล็ดไม่ลับขณะทำคนทำต้องมือเบาเนื่องจากเป็นใบไม้แห้งอาจแตกหรือฉีกขาดได้)
          2. จากข้อ 1 นำตะเกียบชิ้นเล้กมาทำเป็นเครื่องหมายบวก + ด้านในของใบไม้แล้วใช้กาวร้อนติดให้แน่น (เคล็ดไม่ลับกาวร้อนหรือกาวตาช้างจะติดกับใบไม้ได้แค่ไม่นานถ้าติดแล้วต้องทดลองเลยจะได้มั่นใจว่ายังไงใบไม้ก็คงไม่ปลิ้วหายไปกับลมแรงแน่ๆ)
         3. จากข้อ 2 ใช้ด้ายเย็บผ้าที่มีขนาดยาวพอควรมาผูกตรงกลางเครื่องหมายบวกและเชื่อมมาผูกต้องแกนล่างเครื่องหมายบวก
         4. นำด้ายเย็บผ้ายาวแล้วแต่ (ทำเป็นเชือกวิ่งว่าว) ผูกตรงกลางระหว่างเชื่อกเส้นแรกในข้อ 3 ให้แน่น
         5. นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาตัดเป็นห่างความยาวกับความกว้างแล้วแต่จะกำหนดเอง นำมาแปะที่ไม้แกนกลางของเครื่องหมายบวก
        6. เป็นอันเสร็จสิ้นว่าวนี้พร้อมล่องกับลมแล้ว (สังเกตว่ามีลมแรงหรือไม่ถ้าแรงค่อยวิ่งเพราะเวลาว่าวขึ้นสูงจะสวยงามมาก)

สิ่งที่ได้จากการทำว่าวไบไม้
        1. การปราณีตในผลงาน เนื่องจากเป็นไบไม้แห้งมือขณะทำทุกขึ้นตอนต้องเบาจับแรงก็ไม่ได้เดียวใบไม้จะแตกและฉีกขาด
        2. ความอดทน อดทนขณะทำว่าวทุกขึ้นตอนเพราะทุกอย่างต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปใจร้อนไม่ได้เดียวผลงานจะออกมาไม่สวย
        3. ทักษะด้านสังคม เนื่องจากดิฉันได้ไปทดลองที่บ้านเกิด (ร้อยเอ็ด) ก็จะมีคุณตาของฉันและผู้ใหญ่ที่เห็นแนะนำมาถ้าว่าวมันหมุนให้เอาห่างใส่อีกให้ยาวๆ เลย และให้วิ่งทวนกับลมว่าวจะได้ขึ้นสูง
          

สัปดาห์ที่ 10

วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม 2556


กิจกรรมในห้องเรียน

          วันนี้อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงาน วันที่ 27-28 สิงหาคม 2556 ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและโรงเรียนลำปายมาศพัฒนาบุรีรัมย์ ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันวางแผนนำเสนอเป็น Mindmapping ดังนี้

รูปภาพ : การไปศึกษาดุงาน 2 สถานที่ดังกล่าว

          อาจารย์ได้ตรวจบล็อกนักศึกษาทุกคนที่ได้ลิงค์กับอาจารย์ไว้แล้ว ซึ่งของดิฉันอาจารย์ชี้แจงดังนี้
          คำชม คือ การทำงานสรุปเป็น Mindmapping ได้ดีและการตกแต่งใช้ได้
          ตำหนิ คือ คำอธิบายบล็อกไม่มี (แต่ดิฉันได้ใส่ไว้บนหัวข้อสกอบาร์ด้านบน)
          คำแนะนำ คือ คำอธิบายบล็อกไม่เป็นจุดเด่นตรงเอาลงมาไว้ตรงข้างล่างชื่อบล็อกจะทำให้ดูได้อย่างชัดเจนว่าบล็อกจัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์อะไร

องค์ความรู้ที่ได้ในวันนี้

          การะบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                1. การตั้งสมมุติฐาน การคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
                2. การทดลอง  ดำเนินตามขั้นตอน
                3.  สังเกต  ให้เด็กได้สังเกตสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก่อนทดลอง
                4. แบบบันทึก จะให้เครื่องภาษาและคณิตศาสตร์ในกรบันทึก จะทำให้เข้าใจง่ายในสิ่งที่เปลี่ยน

งานที่สั่งอาทิตย์นี้

         1.  แก้ไขบล็อกตามที่ได้แนะนำไป
         2.  ให้นักศึกษาทดลองการทดลอง 3 อย่าง คือ การทดลอง ของเล่น และของเข้ามุมแล้วโพสลงบล็อกให้เรียบร้อย
         3.  ให้นักศึกษานำใบไม้แห้งที่ให้เก็บไว้มาทำเป็นว่าวใบไม้แห้ง ได้ผลหรือไม่ให้โพสลงบล็อกถึงเวลาเรียนแล้วเราจะหาข้อเท็จจริงร่วมกัน

        

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 13 สิงหาคม 2556

          
          ได้เข้าร่วมการสัมมนา ณ ห้องประชุมจันทร์ประภัสสร์ ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี 
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เวลา 13.00-16.45 น. บรรยายโดย คุณมีชัย วีระไวทยะ


รูปภาพ : ข้อน่าคิดกับคุณมีชัย วีระไวทยะ


คลิกภาพบรรยาการในงานการสัมมนา


วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ 9

วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม 2556


         วันนี้ทางสาขาการศึกษาปฐมวัยได้จัดกิจกรรมโครงการ...กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมของสาขา

          องค์ความรู้ที่ได้ในวันนี้
          
          มารยาทพฤติกรรมที่แสดงออก
                 สถานที่ราชการ ต้องแต่งตัวเรียบร้อย สถานศึกษาต้องใส่กางเกงยีนขายาวเท่านั้น เสื้อไม่โป๊ไม่โชว์ไหล่ สถานที่ท่องเที่ยวพุทธธรรมศาสนาต้องใส่กระโปรงคลุมเข่าเท่านั้น เช่น วัดพระแก้วจะไม่ให้ผู้หญิงที่ใส่กางเกงเข้าต้องใส่กระโปรงหรือผ้าถุงเท่านั้น

          ประโยชน์ของมารยาท
                 1. มีเสน่ห์
                 2. ประโยชน์ต่อส่วนร่วม
                 3. สังคมมีความสุข
                 4. ส่งเสนิมให้ผู้ปฏิบัติมีสุขภาพดี

         ประเภทของมารยาท
                 1. มารยาททางกาย
                 2. มารยาททางวาจา
                 3. มารยาททางใจ
                 
                  การยืนตามลำพัง ไม่ยืนกางขา ไม่เอามือล้วงกระเป๋า ไม่แกว่งแขน
                  การยืนกับผู้อื่น ไม่จับกลุ่มขวางทาง ผู้น้อยยืนหลังผู้ใหญ่ ถ้ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่เมื่อคราวจำเป็นต้องกล่าวขอโทษ
                  การเดินตามลำพัง หลังตรง ช่วงก้าวไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป ไม่เดินโยกหัว
                  การเดินร่วมกับผู้อื่น / เดินกับผู้ใหญ่ / เดินผ่านผู้ใหญ่ เดินหลังผู้ใหญ่ ไม่ควรเดินกีดขวางทางจราจร ผู้ใหญ่นั่งเราควรโค้งตัวให้ต่ำกว่าพระนักเก้าอี้
                  การนั่งตามลำพัง นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ
                  การนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ นั่งพื้นกระโปรงต้องคลุมเข่า
                  การนั่งในสาธารณะชน การจาม การหาว การไอ ควรมีผ้าผืนเล็กปิดปาก
                  การนอนตามลำพัง การเอนเบาะต้องดูความเหมาะสม
                  การนอนกับผู้อื่น ให้ผู้ใหญ่นอนก่อน ถ้าง่วงจริงๆ ก็ขออนุญาติผู้ใหญ่ก่อนแล้วค่อยเข้านอน

         มารยาทการแต่งกาย
                 1. สะอาด
                 2. ความสุขภาพเรียบร้อย
                 3. ถูกต้องตามกาลเทศะ

         มารยาททางวาจา
                 1. ไม่พูดรุนแรง
                 2. ไม่สอดสวนวาจา

         มารยาทการสนทนา
                 1. สุภาพอ่อนน้อม
                 2. ไม่โอ้อวดไม่ปล่อยใจให้ฟุ่งซ้าน
                 3. ไม่ควรพูดจาไม่สุภาพต่อหน้าสาธารณะชน

         ** คำคม **
               หว่านเม็ดข้าว ได้กินข้าว
               เลี้ยงปลา ได้กินปลา