วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม 2556
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้นักศึกษารับผิดชอบงานของตนเองดังนี้
1. การทดลองว่าวใบไม้พร้อมโพสลงบล็อก
2. ทดลองการทดลอง 3 อย่าง คือ การทดลอง ของเล่น และของเข้ามุม
ว่าวใบไม้แห้ง
จัดทำโดย นางสาวสมฤดี โพธิกะ
ว่าวใบไม้แห้ง
อุปกรณ์
1. ใบไม้แห้ง (อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเก็บใบไม้สดแล้วแนบไว้ในหนังสือเรียน แต่ของดิฉันใบไม้เล็กเลยเก็บใบไม้สดมาทำใหม่และใบไม้แห้งในเวลา 1 สัปดาห์)
2. เข็มและด้ายเย็บผ้าสีตามใจชอบ
3. ไม้ไผ่ หรือ ตะเกียบที่ไม่ใช้แล้ว
4. เศษกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อทำห่างว่าว
5. กาวร้อนหรือกาวตาช้าง
วิธีการทำ
1. นำใบไม้แห้งมาประกบคู่กันให้เหมือนปีกผีเสื้อแล้วใช้เข็มใส่ด้ายเย็บให้ติดกันโดยดูว่าแน่นพอแล้ว (เคล็ดไม่ลับขณะทำคนทำต้องมือเบาเนื่องจากเป็นใบไม้แห้งอาจแตกหรือฉีกขาดได้)
2. จากข้อ 1 นำตะเกียบชิ้นเล้กมาทำเป็นเครื่องหมายบวก + ด้านในของใบไม้แล้วใช้กาวร้อนติดให้แน่น (เคล็ดไม่ลับกาวร้อนหรือกาวตาช้างจะติดกับใบไม้ได้แค่ไม่นานถ้าติดแล้วต้องทดลองเลยจะได้มั่นใจว่ายังไงใบไม้ก็คงไม่ปลิ้วหายไปกับลมแรงแน่ๆ)
3. จากข้อ 2 ใช้ด้ายเย็บผ้าที่มีขนาดยาวพอควรมาผูกตรงกลางเครื่องหมายบวกและเชื่อมมาผูกต้องแกนล่างเครื่องหมายบวก
4. นำด้ายเย็บผ้ายาวแล้วแต่ (ทำเป็นเชือกวิ่งว่าว) ผูกตรงกลางระหว่างเชื่อกเส้นแรกในข้อ 3 ให้แน่น
5. นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาตัดเป็นห่างความยาวกับความกว้างแล้วแต่จะกำหนดเอง นำมาแปะที่ไม้แกนกลางของเครื่องหมายบวก
6. เป็นอันเสร็จสิ้นว่าวนี้พร้อมล่องกับลมแล้ว (สังเกตว่ามีลมแรงหรือไม่ถ้าแรงค่อยวิ่งเพราะเวลาว่าวขึ้นสูงจะสวยงามมาก)
สิ่งที่ได้จากการทำว่าวไบไม้
1. การปราณีตในผลงาน เนื่องจากเป็นไบไม้แห้งมือขณะทำทุกขึ้นตอนต้องเบาจับแรงก็ไม่ได้เดียวใบไม้จะแตกและฉีกขาด
2. ความอดทน อดทนขณะทำว่าวทุกขึ้นตอนเพราะทุกอย่างต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปใจร้อนไม่ได้เดียวผลงานจะออกมาไม่สวย
3. ทักษะด้านสังคม เนื่องจากดิฉันได้ไปทดลองที่บ้านเกิด (ร้อยเอ็ด) ก็จะมีคุณตาของฉันและผู้ใหญ่ที่เห็นแนะนำมาถ้าว่าวมันหมุนให้เอาห่างใส่อีกให้ยาวๆ เลย และให้วิ่งทวนกับลมว่าวจะได้ขึ้นสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น