วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชยครั้งที่ 2

วันอาทิตย์ 29 กันยายน 2556


กิจกิจกรรมในห้องเรียน

          วันนี้เป็นการเรียนชดเชยครั้งที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์การทดลอง ของเข้ามุม และของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของตนเองหน้าชั้นเรียน ซึ่งการทดลองของดิฉันคือ การตั้งไข่ (สามารถดูรายละเอียดการทดลองได้จาก blog ด้านล่าง)
          
ต้องมีการเซ็นชื่อก่อนเข้าเรียน

รูปภาพ : การเซ็นชื่อก่อนเข้าห้องเรียน

องค์ความรู้ในวันนี้

          วันนี้ดิฉันได้นำเสนองานและส่งงานที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนมากมาย คือ การจะสอนอะไรให้กับเด็กเราต้องนำเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กมาสอน มาคุยกับเด็ก ไม่ใช่นำเรื่องที่เด็กไม่รู้หรือห่างจากตัวเด็กมากเกินไปมาคุยเพราะเด็กจะไม่ได้รับอะไรเลยจากการสอนของเรา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ในวันนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องแรงเสียดทานที่ใกล้ตัวเด็กคือ กระดานลื่น ที่เด็กๆ เล่นอยู่ทุกวันนั่นเอง แต่ที่ดิฉันได้เตรียมไว้นำเสนอคือ การนำแรงเสียดทานไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของ การผลิตรองเท้าที่เวลาพื้นเปียกแล้วเด็กๆ เดินเข้าไปรองเท้ากับพื้นจะเกิดปฏิกิริยากันเกิดเป็นแรงเสียดทาน ทำให้เราเดินย้ำน้ำได้ช้าลงและทำให้เราไม่ลื่นหกล้มนั่นเอง

การนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่อง การตั้งไข่

รูปภาพ : ลำดับการสอนวิทยาศาสตร์เรื่อง การตั้งไข่


รูปภาพ : การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน


Concept และวิธีการทำสื่อเข้ามุม

รูปภาพ : การทำสื่อเข้ามุม


สื่อต่างๆ ที่เพื่อนกลุ่ม 103 นำส่งอาจารย์

รูปภาพ : รวมการส่งสื่อ กลุ่ม 103


เก็บตกภาพบรรยากาศการนำเสนองานในห้องเรียน





วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ 16

วันพุธ ที่ 25 กันยายน 2556

กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์จิตนา  สุขสำราญ ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับการสอบ การเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน 2556 และรวมรูปเล่มการศึกษาดูงาน
          และอาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น อาจารย์แจกสีไม้และสีเมจิก คนละ 1 กล่อง พร้อมกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่สั่งในวันนี้
         1. ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ลง Blogger ของตัวเอง ดังต่อไปนี้
                 1.1  บทความ
                 1.2  TV ครู
                 1.3  วิจัยที่ตัวเองเลือก
         2.  ให้นักศึกษาประเมินผู้สอนทาง Online ในเว็บไซต์ของคณะศึกษาศาสตร์



รูปภาพ : กิจกรรมในห้องเรียน







สรุปองค์ความรู้จาก Thai Teachers TV


Early Years Workshop : เวิร์กชอป ระดับปฐมวัย : การฟังและการตั้งคำถาม  : การอภิปราย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


       
        จากคลิปวีดีโอข้างต้น การฟังและตั้งคำถาม : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
        
        เด็กตั้งคำถามได้อย่างไรและทำไม
        ยาน ดูเบียว เจ้าหน้าที่ แผนงานระดับปฐมวัย จากโปรแกรมวัดผลแห่งชาติ กล่าวว่า คำถามอาจไม่ได้พูดออกมาแต่จะส่งทางการกระทำครูต้องพัฒนาทักษะความเข้าใจเมื่อเด็กตั้งคำถาม ดูการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่นดูว่าความคิดเขาไปถึงไหน คำถามของเด็กมักถามเวลาเด็กสำรวจโลกของเขา
        ไดแอน ริช์ จาก "ริช เลิร์นนิ่ง ออพพอทูนิทีส์" กล่าวว่า เด็กตั้งคำถามตลอดเวลา เด็กคือนักสำรวจโดยธรรมชาติ ระหว่างสำรวจสิ่งใดก็ตามเด็กจะตั้งคำถามเสมอ
        คริส รอส ครูโรงเรียนเนิร์สเชอรี อีฟแชม กล่าวว่า เขาจะตั้งคำถามบ่อยครั้งเด็กจะตั้งคำถามในวิธีที่แตกต่างมากมาย

ณ โรงเรียนเนิร์สเชอรี อีฟแชม
           วันนี้เด็กๆ ได้เล่นน้ำที่เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเด็กเลือกอยากจะเล่นเอง/ตัดสินใจเอง เด็กไม่กลัวเปียก ทำให้รองเท้า ถุงเท้าและเท้าของเด็กเปียกหมดความมหัศจรรย์ของน้ำทำให้เด็กสำรวจอย่างสนุกสนาน เด็กจะมีสมาธิมากในกิจกรรมที่พวกเขาเลือกเอง ผู้ใหญ่มีหน้าที่สังเกตเด็กใช้น้ำอย่างไร? บางครั้งเด็กเล่นเองครูก็เหมือนไม่มีส่วนร่วมถ้าไม่ได้ไปคลุกคลีกับเด็ก สำหรับครูการนำประสบการณ์นั้นมาใช้และพูดว่า "เราจะทำให้เด็กตั้งคำถามเองให้มากกว่านี้ได้อย่างไร เราจะวางหลักและสนับสนุนการเรียนรู้ในอนาคตให้เด็กได้อย่างไร" นั้นสำคัญ แต่สิ่งที่ครูต้องเตรียม คือ การเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กมากขึ้นแล้วค่อยหาอุปกรณ์ที่ตั้งคำถามได้มากขึ้นสร้างปัญหาขึ้นเพื่อให้เด็กหาทางแก้ แผนที่วางเอาไว้เด็กต้องตอบสนองได้อย่างดี
           มีเด็กคนหนึ่งที่ชอบทดลองหยิบจับนู้นนี้นั้นเด็กยังส่งผ่านไปยังคนอื่นให้เพื่อนๆ ช่วยทดลองโดยไม่พูดกันเลย พวกเขามีทักษะทางสังคม
           จะมีเด็กคนหนึ่งไม่ทำอะไร จนกระทั่งเห็นเพื่อนๆ เขาก็ตั้งคำถามขึ้นมา "พวกเขาทำอะไรอยู่? ถ้าฉันทำบ้างจะเป็นอย่างไร? อยากรู้ว่าจะทำอะไรได้อีก? ฉันทำบ้างได้ไหม?" เด็กจึงได้ร่วมกันทำกิจกรรม


รูปภาพ : การทำงานของเด็กที่ทำร่วมกัน คัดลอกจาก : TV ครู
           
           เด็กคนหนึ่งถือถังน้ำ อีกคนรินน้ำจากข้างบน อีกคนรองน้ำจากก๊อก แต่ไม่มีเสียงพูดกันเลย ที่เด็กบอกว่า "น้ำจะล้นแล้ว" แล้วดูต่อคือการคาดเดาหรือสันนิษฐาน เหมือนนักวิทยาศาสตร์บอกว่า "ฉันคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น"

           พอเด็กได้ออกนอกสถานที่ (พื้นที่ป่าของโรงเรียน) เด็กสำรวจแหล่งที่มาของน้ำได้ว่าไม่ได้มาจากก๊อกเท่านั้น ให้เด็กดูว่าน้ำเหมือนกันหรือไม่? เข้าใจที่มาของน้ำและการไหลของน้ำเพราะเด็กได้เห็นกับตาตัวเอง



รูปภาพ : แรงจูงใจของเด็กในการทำกิจกรรม

          เราต้องกล้าที่จะปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ปลูกฝังวินัยการตั้งคำถาม/การสำรวจให้พวกเขาได้



การนำไปประยุกต์ใช้


          ทำให้ดิฉันทราบว่าการสอนเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องไปตั้งคำถามให้เด็กเสมอๆ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นช่วงของการเรียนรู้ การอยากรู้อยากลองอยู่แล้วจึงทำให้เขาสงสัยและป้อนคำถามมาเอง แต่มิใช่ว่าผู้ใหญ่จะไม่สนใจหรือปล่อยปะละเลยเด็กแต่ผู้ใหญ่ควรให้คำตอบสำหรับเด็กให้ได้มากเท่าที่ควรและเตรียมสื่ออุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มาก ที่สำคัญให้เหมาะสมกับวัยเพื่อเด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกันเป็นประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์ตรงสำหรับเด็ก          



สรุปบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ



          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวความรู้ทางวิทยาศาสตร์
          เด็กเล็กๆ มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม ทำให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมสิ่งที่อยู่รอบตัวด็ก เด็กสามารถสังเกตเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก


รูปภาพ : แนวความคิดของ Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 )


รูปภาพ : แนวความคิดของอัญชลี ไสยวรรณ (2547 :1-6 )


รูปภาพ : กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย


การนำไปประยุกต์ใช้

          วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวกับเด็กและมนุษย์เราทุกคน ผู้ใหญ่ที่ไม่จำเป็นเฉพาะครูปฐมวัยเท่านั้นควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย ให้เด็กได้เข้าใจและรู้ทันการก้าวหน้าของโลกเรา และการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กแต่ถ้าหากเรานำการสอนที่ยากๆ นี้มาจัดเป็นกิจกรรม การประดิษฐ์สื่อ การทดลอง การศึกษาจากสถานที่จริง (ทุกอย่างต้องปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้กระทำ) จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาส่วนหนึ่งสำหรับการสอนของเด็กปฐมวัย

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์
ของ
สุมาลี  หมวดไธสง

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2554
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


รูปภาพ : Mindmapping การสรุปวิจัย


ภาพส่วนหนึ่ง : จากงานวิจัย



วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15

วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556


          กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาในกลุ่มลิงค์บล็อกกับอาจารย์เองและให้นักศึกษาทำไข่ตุ๋น โดยการปฏิบัติจริงในห้องเรียนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่เราได้เรียนทฤษฏีไป

รูปภาพ : การทำไข่ตุ๋นง่ายๆ

รวมรูปภาพการทำงาน




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชยครั้งที่ 1

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556


         กิจกรรมในห้องเรียน
         วันนี้เป็นการเรียนชดเชยครั้งที่ 1 เนื่องจากมีการงดการเรียนการสอน 2 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นการเรียนไม่ทันและสอนให้ครบอาจารย์จึงได้นัดหมายนักศึกษามาเรียนชดเชยในวันดังกล่าวสอนโดยอาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันและได้แจกกระดาษชาร์บแผ่นใหญ่ให้นักศึกษา 4 แผ่นให้นักศึกษาทำงานในหัวข้อดังนี้ต่อไปนี้และให้นำเสนอเป็น Mindmapping

         องค์ความรู้ในวันนี้
            แผ่นที่ 1 การสอนเด็กทำอาหาร
            แผ่นที่ 2 เลือกอาหารจากแผ่นที่ 1 (ที่คิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์) กลุ่มของดิฉันเลือก "ไข่ตุ๋น"
            แผ่นที่ 3 วิธีการทำไข่ตุ๋น
            แผ่นที่ 4 การทำแผนการสอน ชื่อกิจกรรม "ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง"

         และไข่ตุ๋นเราก็จะนำไปทำจริง ปฏิบัติจริงในวันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556 (ซึ่งเป็นวันเวลาการเรียนการสอนตามปกติ)โดยอาจารย์ให้นักศึกษาจัดการกันเองซื้อของ/จัดเตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์ทุกอย่าง โดยมีอาจารย์ค่อยเป็นผู้แนะนำเบื้องหลัง

            * สามารถดูรายละเอียดได้จากรูปภาพด้านล่างคะ *




รวมรูปภาพการทำงานในห้องเรียน





วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14

วันพุธ ที่ 11 กันยายน 2556


          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจในคณะศึกษาศาสตร์
แต่อาจารย์นัดชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556




สัปดาห์ที่ 13

วันพุธ ที่ 4 กันยายน 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจในคณะศึกษาศาสตร์






สัปดาห์ที่ 12

วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้พานักศึกษาไปศึกษาดูงาน 2 แห่ง ดังนี้ 
          1. สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
          2. โรงเรียนลำปายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์


ซึ่งรายละเอียดติดตามได้ใน Blogger ด้านล่างได้เลยคะ




วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

         ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 กับอาจารย์จินตนา สุขสำราญ อาจารย์ประจำวิชาและเพื่อนกลุ่ม 103 จากที่ได้ไปะไม่มีศึกษาทำให้ทราบว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเป็นโรงเรียนกบนอกกะลา พื้นที่ในโรงเรียนมีแต่ป่า ต้นไม้ ร่มรื่น มีการปลูกผักสวนครัว ผลไม้บางชนิด เช่น สัปรด และชมพู่ ฯลฯ และที่โรงเรียนปรุงอาหารโดยไม่มีผงชูรส ผักก็ปลอดสารเคมี เด็กๆ ที่นี้จะเรียนรู้บูรณาการกับแบบวิถีชุมชน เช่น ปลูกข้าว เกี่ยวข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา และ ฯลฯ
        ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ณ หน้าเสาธง (ตอนเช้า 08.00)
          เด็กๆ เข้าแถวเคราพธงชาติ แต่ไม่ผู้นำร้องและที่นี้ยังเผยเมตตาเป็นทำนองอีกด้วย การปล่อยแถวจะมีครู*มอนิเตอร์ (ครูเวร) ปล่อยทีละแถวจากน้องอนุบาล 1-พี่มัธยมปีที่ 3 และน้องอนุบาล1 กับพี่อนุบาล 2 จะไปไต่เชือกข้ัามฝั่งก่อนเข้าห้องเรียน และวันนี้มีครูจากฉะเชิงเทราปัญญานุกูลมาศึกษาดูงานเช่นกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันด้วยในการถามโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


VDO : แนะนำโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


แนะนำการจัดการเรียนการสอนนักเรียน รร.ลำปลายมาศพัฒนา

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 รร.ลำปลายมาศพัฒนา


ณ ลานหน้า ห้องอนุบาล 2
          จากคลิปวีดีโอจะมีนักศึกษาฝึกงาน 2 คน (ทำกิจกรรมด้านหน้า) และครู 1 คน (คนที่ตีกลอง) เด็กเล็กที่นี้จะไม่นั่งสมาธิเพราะเด็กยังไม่เข้าใจและขัดธรรมชาติของเด็กคือเด็กสมาธิสั้น ถ้าครูให้เด็กหลับตาเขาก็มักจะลืมตาดูว่าครูทำอะไร แต่ที่นี้บอกว่า "อะไรก็ตามที่เด็กได้จดจ่อสิ่งนั้นคือสมาธิ" เช่น โยคะ และปั้นดินน้ำมัน เด็กที่นี้จะเรียกชื่อเล่นเหมือนทุกที่ทั่วๆ ไป การกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมเด็กจะยังดูไม่ออกหรอกว่าตอนนี้กี่โมงแต่เด็กจะรู้แค่ว่าถ้าเข็มนาฬิกาสั้นชี้ที่เลข 9 เข็มยาวชี้ที่เลข 12 แสดงว่าหมดช่วงเวลากิจกรรมนั้นแล้ว บุคลากรที่นี้จะเรียกพี่ (ตามด้วยชื่อเด็ก) ตั้งแต่อนุบาล 2 ขึ้นไปและจะไม่มีหัวหน้าห้องแต่มี *มอนิเตอร์ <คือผู้นำ> จากคลิปจะเห็นว่ามีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้รับหน้าที่เป็นมอนิเตอร์ตามที่ครูกำหนดขึ้น น้องจะยกมือไหว้ครูก่อน แล้วเดินแตะเพื่อนที่นั่งเรียบร้อยที่ละคนจนครบหมด มอนิเตอร์จะไหว้เพื่อนทุกคนและเพื่อนก็จะรับไหว้มอนิเตอร์เพื่อทุกคนก็จะไปไหว้ครูและกอดครูก่อนเข้าห้อง ขณะที่ไว้และกอดนั้นเด็กจะเอ่ยชื่อครูก่อนแล้วครูจะเอ่ยชื่อเด็กกลับ เช่น เด็ก : สวัสดีคะครูก้อย ครู : สวัสดีคะพี่น้ำ เป็นต้น

ณ สนามเด็กเล่น
          โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จะไม่มีการซื้อเครื่องเล่นพลาสติกมาให้ที่โรงเรียนแต่จะใช้ของที่อยู่ตามท้องถิ่นมาทำเป็นของเล่นให้เด็กปฐมวัย เช่น กระลา ไม้ไผ่ เป็นต้น และก็จะได้รับการร่วมมือกับผู้ปกครองของเด็กมาช่วยกันสร้างเครื่องเล่น ก่อนเปิดเทอมผู้ปกครองจะมาขนทรายเข้าสนามเด็กเล่นเป็นอย่างนี้ทุกปีเพราะเด็กบางคนชอบขนทรายออกจากสนาม



รูปภาพ : สนามเด็กเล่น รร.ลำปลายมาศพัฒนา


ณ ภายในห้อง อนุบาล 2     



          เด็กๆ จะนอนรอครูเป็นปลาดาวอยู่ในห้อง ครูเก็บเด็กด้วยการเล่าเรื่องปลาดาว (เด็กบางคนก็จะจินตนาการไปกับครูแล้วทำท่าทางตามจินตนาการ) และครูพาเด็กบริหารหาย เป็นสัตว์ ดังนี้ ผีเสื้อ หงส์ จระเข้ ตั๊กแตน นายพราน และสะพาน ทุกอย่างจะสอนการนับ 1-10 ทั้งไทย - อังกฤษในการบริหารกาย

 ท่าบริหารกาย
      ผีเสื้อ พับขาซ้าย-ขวา เข้าหาตัวแล้วกะพรือขา จะเป็นปีกผีเสื้อบินและผีเสื้อก้อจะก้มลงให้หน้าจรดพื้นเป็นการสูดดมเกสร
      หงส์ ยึดแขนซ้าย-ขวา ไปด้านหลังให้สุด แล้วหายใจเข้าลึกๆ นับ 1-10 
      จระเข้ นอนคว่ำโดยงอแขนซ้าย-ขวามาลองเป็นหมอนให้เจ้าจระเข้นอน
      ตั้กแตน ยึดแขนซ้าย-ขวาผสานกันไปด้านหลังให้สุด และยึดขาทั้งสองข้างให้สุด
       นายพราน ยกตัวจากตั้กแตนขึ้นลง เพื่อนเป็นธนูให้นายพรานยิง
       สะพาน นอนหงายใช้แขนและขาดันตัวเองขึ้น ให้ตัวโค้งเหมือนสะพาน

ณ ห้องประชุม
          - มีการเปิดวีดีทัศน์นำเสนอโรงเรียน เนื้อหาดังนี้
           
รูปภาพ : สิ่งที่ลดให้กับเด็กปฐมวัย

รูปภาพ : สิ่งที่สร้างให้กับเด็กปฐมวัย

รูปภาพ : การปรับพฤติกรรมโดยใช้เชิงบวก
          
         - เด็กจะได้ปลูกข้าว/ถอดกล้า และมีผู้ปกครองมาสอนเรื่อง การปลูกข้าว/ถอดกล้าและสาธิตให้เด็กๆ ทำตาม
        - มีการสอนการจับปลาและจับกบ ในทุ่งนาหรือในบ่อเลี้ยง
        - โรงเรียนจะมีการให้บุคคลข้างนอกมาอบรมและครูในโรงเรียนอบรมทุก เสาร์-อาทิตย์
        - ครูทุกคนที่โรงเรียนจะทำแผนออนไลน์ล่วงหน้าก่อน 1 สัปดาห์สำหรับการสอน
        - การสอนของครู ครูประจำชั้นจะสอนเองยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษที่มีครูมาสอนหรือชาวต่างชาติมาสอนแทน
                 

ของฝากจาก รร.ลำปลายมาศพัฒนา ติดไม้ติดมือกลับมหาวิทยาลัย

รูปภาพ : ของฝากจาก รร.ลำปลายมาศพัฒนา
รูปภาพ : สื่อจาก รร. ลำปลายมาศพัฒนา

รูปภาพ : สื่อจาก รร.ลำปลายมาศ





ศึกษาดูงานรร.สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
        
          โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นหน่วยงานสังกัดคณะครุศาตร์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ.2551 รงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกาา รอบที่ 2 จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน การศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยมีการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน


รูปภาพ : วัตถุประสงค์ของ รร.สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
รูปภาพ : คำขวัญของ รร. สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
          
         เมื่อคณะเราเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทางคณาจารย์ที่มหาวิทยาลัยก็ต้อนรับเราเป็นอย่างดี ขณะที่เราไปถึงฝนก็ลงเม็ดปรอยๆ คณาจารย์ที่ ม.ราชภัฏนครราชสีมาก็รีบจัดแจงคณะเรารีบไปดูงาน ซึ่งแบ่งตามห้องเรียนของเด็กปฐมวัย ตั้งแต่เด็กบริบาล - อนุบาล 2 และแถวของดิฉันได้รับหน้าที่ไปศึกษาเด็กอนุบาล 2 ซึ่งมีอยู่ 2 ห้อง ดังนี้

ณ ห้องอนุบาล 2  
          เราได้ไปศึกษาดูอนุบาล 2 ห้องที่ 2 ห้องเดียว เนื่องจากอนุบาล 2 ห้อง 1 มีเรียนดนตรีไทยจึงไม่ได้เจอเด็กๆ เราจึงได้ดูแต่ห้องอนุบาล 2/2 ตอนนี้เป็นชั่วโมงสอนของนักศึกษาฝึกสอน เด็กๆ ตั้งใจเรียนมาก ทั้งๆ ที่มีนักศึกษาหลายคนเข้าไปในห้องเพื่อศึกษาดูงาน เด็กๆ ก็ยังสนใจในชั้นเรียนและมีการปล่อยเด็กไปทำกิจกรรมศิลปะด้านหน้าห้อง ดังคลิปต่อไปนี้




จากใจโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา







การทำของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


          จากคลิปวีดีโอข้างต้น เป็นเรื่องของ "แรงโน้มถ่วง" ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้       
                    แรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม : เรื่องแรงโน้มถ่วง

VDO เรื่อง "แรงโน้มถ่วง"



 รวมรูปภาพ : การทำกิจกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์



วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

การทำของเข้ามุมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ชื่อผลงาน "T' Doraemon Pong Pong"




จากคลิป VDO เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเกิดเสียง
         เสียง เป็นคลื่นกลที่เกิดจากกการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่งสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการดอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสูญญากาศได้

ข้อมูลเพิ่มเติม : เสียงและมลภาวะทางเสียง
                                                                                                    :  เสียงกับการได้ยิน
                                                                                      
MindMapping : ขั้นตอนการทำของเข้ามุมวิทยาศาสตร์


เก็บตกภาพการทำงาน





วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การทดลอง "การตั้งไข่ง่ายนิดเดียว"


          จากคลิป เรื่องวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ "แรงเสียดทาน" เรามารู้จักกับแรงเสียดทานได้เลย....
         
         เรื่อง แรงเสียดทานเป็นเรื่องของนามธรรมการที่จะนำเรื่องแรงเสียดทานไปสอนเด็กปฐมวัย จึงเป็นเรื่องยากจะต้องมีการอธิบาย สาธิต ทดลอง และทดสอบ ไปพร้อมกันเพื่อให้เด็กเข้าใจมากขึ้น
         แรงเสียดทาน (frictional force) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิววัตถุกับพื้นที่สัมผัสและมีทิศตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
             
               ลักษณะของแรงเสียดทาน
               1. ไม่ขึ้นกับจำนวนพื้นที่ผิดสัมผัส
               2. ไม่ขึ้นกับความเร็วที่วัตถุเคลื่อนที่และมีทิศตรงข้ามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
               3. ขึ้นอยู่กับแรงที่วัตถุกดพื้นในแนวตั้งฉาก หรือ แรงปฏิกิริยาของพื้นในแนวตั้งฉาก
               4. ขึ้นกับพื้นผิวสัมผัส เช่น ขรุขระ หรือเรียบ

               ประโยชน์ของแรงเสียดทาน
               1. รองเท้าของเราจะมีดอกยางกันลื่นเวลาเดินย้ำน้ำ
               2. ใช้ผลิตดอกยางบนล้อรถทุกชนิดเพื่อการยึดเกาะบนพื้นท้องถนน ยกเว้นรถแข่งที่ไม่มีดอกยาง
อ้างอิงจาก : แรงเสียดทาน

เรื่อง แรงเสียดทาน


 
 
แบบฉบับร่าง : การทดลอง "การตั้งไข่ง่ายนิดเดียว"