วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4

วันพุธ ที่ 3 กรกฏาคม 2556


กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์ทบทวนเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้วเรื่องความลับของแสง และเรื่องวิทยาศาสตร์          
          อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้กับนักศึกษาคนละ 2 แผ่น และอาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับงานคือ ให้นักศึกษาพับกระดาษยังไงก็ได้ให้ได้ 8 แผ่นและทุกคนวาดรูปอะไรก็ได้ที่ตัวเองต้องการลงไปในกระดาษทั้ง 8 หน้า แต่ข้อแม้คือแต่ละหน้าจะต้องวาดเพิ่มที่ละอย่างจนเป็นรูปร่างในแผ่นที่ 8 เสร็จแล้วให้นักศึกษาทุกคนเปิดภาพวาดของตัวเองอย่างรวดเร็วจะเหมือนว่าภาพสามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งดิฉันวาดเป็นรูปโดเรมอน ดังนี้

รูปภาพ : โดเรมอนเคลื่อนไหว

องค์ความรู้ในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ พอดูเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำและส่งในชั่วโมง ซึ่งมีหัวข้อและเนื้อหา ดังนี้

รูปภาพ : Mind Mapping เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ


 มหัศจรรย์ของน้ำ

           น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ จึงไม่แปลกที่อากาศร้อนๆ สิ่งมีชีวิตถึงรู้สึกอ่อนเพลียแต่ถ้าเราดื่นน้ำเราก็จะรู้สึกหายอ่อนเพลียเรา เพราะน้ำที่เราดื่มเข้าไปจะช่วยชดเชยน้ำที่หายไปได้ สิ่งมีชีวิตบนโลกล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ดังตัวอย่างการทดลองนี้
                    อุปกรณ์  1.  ผลไม้ 2 ชนิด เช่น แอปเปิ้ล และแครท  2.  เครื่องบด  3.  ถ้วยเปล่า 2 ใบ
                    ทดลอง  นำผลไม้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบดหรืออาจจะใช้มีดสับให้ละเอียดก็ได้ แล้วตักใส่ถ้วยเปล่าใบแรก ใบที่สองให้ลองบีบผลไม้ที่เราบดละเอียดจะเห็นว่ามีน้ำไหลออกมา
                       
          ร่างกายมนุษย์จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% ผักและผลไม้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90% มนุษย์เราจะขาดน้ำได้แค่ 3 วันเท่านั้น อูฐขาดน้ำได้ 4 วัน พืชในทะเลทรายต้องเก็บกักน้ำไว้เป็นจำนวนมากเมื่อเวลาฝนไม่ตก

  คุณสมบัติของน้ำ

           มี 3 สถานะ  คือ  1.  ของแข็ง  เช่น  น้ำแข็ง
                                     2.  ของเหลว  เช่น  น้ำดื่ม น้ำที่เราอาบ
                                     3.  ก๊าซ  ได้แก่ไอน้ำ
           การทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
                      วิธีที่ 1 เริ่มแรกนำน้ำแข็งใส่หม้อที่มีความทนต่อความร้อนแล้วตั้งไฟ พอไฟมีความร้อนจัดน้ำแข็งก็จะละลายกลายเป็นของเหลว แล้วถ้าเราต้มน้ำไปเรื่อยๆ น้ำก็จะกลายเป็นไอน้ำ ไอน้ำก็มีความร้อนที่สามารถทำให้น้ำแข็งที่อยู่ชั้นที่ 2 ที่เรามาวางอีกละลายได้
                      วิธีที่ 2  นำภาชนะมาวางแบบที่ 1 แก้วน้ำ และแบบที่ 2 จานกว้าง จากนั้นนำน้ำในประมาณเท่ากันมาเทลงลงภาชนะทั้ง 2 แล้วนำไปตากแดดอย่างน้อย 10 วัน จะเห็นว่าน้ำในจานจะแห้งเร็วกว่าน้ำที่อยู่ในแก้ว ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าน้ำจะระเหยเมื่อโดนความร้อนและจะระเหยเฉพาะส่วนผิวน้ำเท่านั้น ดังรูปต่อไปนี้
รูปภาพ : การระเหยของน้ำ

  การเกิดฝนตก

                   
รูปภาพ : วัฏจักรของฝน
         ฝนตกเกิดจาก น้ำโดนความร้อนของแสงจากดวงอาทิตย์หรือความร้อนอื่นใดที่ใช้ในการต้มน้ำ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน พอมากเข้าอากาศไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านี้ต่อไปได้ น้ำก็จะหล่นลงมายังผืนโลกให้เราเรียกขานกันว่าฝนตก      

การขยายตัวของน้ำ

      
          การทดลอง นำน้ำใส่แก้ว 1 แก้วให้เต็มพอดี จากนั้นนำกระดาษแข็งมาปิดปากแก้ว ดังรูป


          นำไปแช่ในช่องฟิตรอจนน้ำแข็งตัว พอน้ำแข็งตัวเราจะสังเกตเห็นว่ากระดาษแข็งที่เราปิดไว้สนิทตอนแรกตอนนี้ไหมมันถึงโผล่ออกมา ดังรูป
   


          คือว่าสสารบนโลกนี้จะมีโมเลกุลเป็นตัวประกอบน้ำกับน้ำแข็งก็เช่นเดียวกัน น้ำจะมีโมเลกุลอัดแน่นมากกว่าน้ำแข็ง ดังรูป       


           ดังนั้น ตอนแรกเราใส่นำจนเต็มแก้วโมเลกุลอยู่ในระดับที่พอดีกับแก้ว พอน้ำแข็งตัวโมเลกุลของน้ำที่อัดกันแน่นก็จะคลายตัวออกเป็นโมเลกุลน้ำแข็งเป็นแบบหลวมที่มันขนาดใหญ่ขึ้นจึงดันกระดาษที่ปิดไว้ออกมา ดังรูป




ความแตกต่างระหว่างน้ำทะเลกับน้ำจืด

          เราจะสามารถว่ายน้ำในน้ำทะเลง่ายกว่าน้ำจืด ดูจากการทดลอง "แครทลอย"ของคุณโบกี้ ดังนี้
               อุปกรณ์  1.  น้ำเกลือ  2.  แครทที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก 1 ชิ้น  3.  แก้ว 1 ใบเติมน้ำครึ่งแก้ว
               การทดลอง  นำแก้ว 1 ใบที่เติมน้ำครึ่งแก้วมาวาง ดังรูป



              แล้วนำแครทที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก 1 ชิ้นวางลงไปจะเห็นว่าแครทจมลงไปก้นแก้ว แต่เราเติมน้ำเกลือลงไปเรื่อยๆ อีกครึ่งแก้วจะเห็นว่าแครทเริ่มลอยขึ้นมาเรื่อยๆ ดังรูป



             ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นกว่าน้ำธรรมดา ที่เราเติมน้ำเกลือด้วยกรวยนั้นก็เพราะว่าน้ำเกลือจะได้อยู่ข้างล่างแก้วแล้วน้ำธรรมดาซึ่งเบาสุดจะลอยอยู่ข้างบนแครทเลยลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำเกลือจะลอยขึ้นไปบนน้ำธรรมดาไม่ได้แครทจึงลอยอยู่ระหว่างน้ำทั้งสอง ดังรูป 
  


งานที่อาจารย์สั่งครั้งต่อไป

          ให้นักศึกษาคิดสือหรือของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย โดยทำจากเศษวัสดุเหลือใช้และเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ที่เด็กปฐมวัยสามารถประดิษฐ์ได้เองมาคนละ 1 อย่าง ซึ่งชิ้นงานของดิฉันคือ ของเล่นตุ๊กตาล้มลุก ดังรูป

รูปภาพ : สื่อของเล่น (ฉบับร่าง) เรื่อง ตุ๊กตาล้มลุก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น