วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8

วันพุธ ที่ 31 กรกฏาคม 2556


          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม แต่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานคือ ร่างแบบการประดิษฐ์แบบทดลอง แบบของเล่น แบบเข้ามุมรอนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป การลิงค์บล็อก (สำหรับคนที่ยังไม่ลิงค์) และการบันทึกกิจกรรมลงบล็อกพร้อมตกแต่ง

รูปภาพ : ปฏิทินการศึกษา 1/56


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7

 วันพุธ ที่ 24 กรกฏาคม 2556


กิจกรรมในห้องเรียน

         What อาจารย์สอนเรื่อง วิทยาศาสตร์ ทั้งทบทวนความรู้เดิมและสอนให้ความรู้ใหม่ คือ ให้นักศึกษาดู PowerPoint เกี่ยวกับเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเปิดวีดีโอจากทีวีครู เรื่อง การสอนแบบโครงการ Project Approach ยังร่วมอภิปรายในห้วข้อต่างๆ กับนักศึกษาในห้องเรียนอีกด้วย ซึ่งเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ดิฉันนำเสนอเป็น MindMapping ดังนี้

องค์ความรู้ในวันนี้


รูปภาพ : การสอนวิทยาศาสตร์ให้กัเด็กปฐมวัย

รูปภาพ : เนื้อหาเกี่่ยวกับวิทยาศาสตร์

รูปภาพ : กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์

รูปภาพ : สมองกับวิทยาศาสตร์

รูปภาพ : องค์ประกอบของการวัดทางวิทยาศาสตร์

รูปภาพ : เทคนิคการคิดวิเคราะห์ 5W 1H

ค้นคว้าเพิ่มเติม    

     What  คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่าเราจะทำอะไร
     Who คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบบ้าง
     When คือ ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด
     Where คือ สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน
     Why คือ สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด
     How คือ เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุ What ในข้างต้นได้อย่างไร

     เทคนิคการคิดวิเคราะห์
        การคิดวิเคราะห์ เป็นการคิดโดย ใช้สมองซีกซ้าย เป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียด จากเหตุไปสู่ผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความสำพันธ์ในเชิงเหตุและผล

     ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์
    1. ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ
    2. เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
    3. ช่วยให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
    4. ช่วยประมาณความน่าจะเป็น
                                                                                         อ้างอิงจาก : 5w 1h คืออะไร
                                                                                                      : หลักวิเคราะห์ 5w 1h

การสอนแบบโครงการ Project Approach





จาก VDO เรื่อง การสอนแบบโครงการ
     5 ลักษณะของ Project Approach
           ลักษณะที่ 1 การอภิปราย การมีส่วนร่วมในเรื่องที่สนใจ
           ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม เป็นสิ่งที่เด็กมีอยู่แล้วทำให้ครูรู้ว่าเด็กมีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน เพื่อครูจะได้จัดกิจกรรมได้เหมาะสมและเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน
           ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม การทัศนศึกษานอกห้องเรียน การไปศึกษาสถานที่จริง เป็นต้น ข้อมูลจากที่ได้กล่างมาข้างต้นส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
           ลักษณะที่ 4 การสืบค้น หาข้อเท็จจริงในสิ่งที่เด็กๆ สงสัยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
           ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง โชว์ผลงานของตนเอง การนำเสนอ เป็นต้น ซึ่งให้เด็กได้ฝึกการใช้ภาษา

เกร็ดความรู้ครูปฐมวัย

     - การสอนเด็กปฐมวัย มีเนื้อหา ทักษะ และการนำไปใช้
     - การสอนเด็กจะต้องนำหัวข้อมาแตกเป็นเนื้อหา
     - ประสบการณ์เดิมที่เด็กปฐมวัยจะสื่อออกมา คือ การใช้คำถาม การวาดรูป และการประดิษฐ์


วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

วันพุธ  ที่  17  กรกฏาคม  2556  

การทดลอง การตั้งไข่งานนิดเดียว

รูปภาพ : การตั้งไข่

วัสดุอุปกรณ์
1.  เกลือไอโอดีน 1 ช้อนโต๊ะ
2.  ไข่ไก่ดิบหรือไข่ไก่ต้มแล้วก็ได้ (แนะนำไข่ไก่ต้มแล้วเพื่อกันพลาดเวลาแตกจะไม่แตกละเอียด)
3.  หาโต๊ะที่เป็นไม้ เช่น ชั้นวางของ โต๊ะทานอาหาร และโต๊ะวางของ เป็นต้น

วิธีการทดลอง
         หาบริเวณของโต๊ะไม้ที่เหมาะสมไม่เป็นอันตราย หยิบเกลือวางลงเท่า 1 หยิบมือแล้วนำไข่ไก่ที่ต้มทางแหลมมาวาง สังเกตว่าเมื่อวางไข่ลงไปกับเหลี่ยมเกลือจะสามารถทำให้ไข่ตั้งอยู่บนโต๊ะได้ซึ่งหลักการคือ เรื่อง แรงเสียดท้าน แรงที่ต้านทานการเคลื่อนที่ทำให้เราเคลื่อนที่ได้ยากขึ้น
         
          แรงเสียดทานกับชีวิตประจำวัน
                การออกแบบล้อรถยนต์ทำให้ยึดก่อถนนได้ดีขึ้น เวลาฝนตกก็จะยึดเกาะถนนไม่ให้รถลื่นไหลออกจากถนนได้


สัปดาห์ที่ 5

วันพุธ  ที่ 10 กรกฏาคม  2556  


กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อ/ของเล่น ที่ได้เตรียมมาจากสัปดาห์ที่ 4 รายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อดูความคืบหน้าและการติชมเพื่อให้นักศึกษาแก้ไขและพัฒนาชิ้นงานต่อไป

รูปภาพ : นำเสนองานหน้าชั้นเรียน เรื่องของเล่นตุ๊กตาล้มลุก

          สิ่งที่อาจารย์แนะนำ

               ให้นักศึกษาหาสิ่งที่จะมาทำตุ๊กตาล้มลุกให้ง่ายกว่านี้ เช่น  ทำจากแก้วน้ำพลาสติก เปลือกไข่ เป็นต้น เพราะจะได้ไม่เสียเวลาและเด็กปฐมวัยก็จะสามารถทำเองได้ง่ายหรืออาจจะนำวิธีนี้ไปใช้ที่บ้านของตนเองด้วยก็ได้
               หลักการทางวิทยาศาสตร์ของตุ๊กตาล้มลุก
                      คือแรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลักซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้มในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด
(ขอบคุณข้อมูลจาก : เรื่องแรงโน้มถ่วง)

          จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาดูรูปภาพเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เรื่อง หน่วยน้ำ  ดังนี้


ทดลองเล่นกับน้ำ น้ำมีรูปร่างหรือไม่ อย่างไร


เด็กๆ สนุกสนานเล่นกับน้ำ โดยนำวัสดุอุปกรณ์มาร่วมเล่น เพื่อเรียนรู้น้ำเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ


ทดลองน้ำระเหยกลายเป็นไอ...เมื่อโดนความร้อน


ทดลองการต้มน้ำ น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอ สังเกตไอน้ำจากกาต้มน้ำ


ทดลองน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเมื่อนำไปใส่ตู้เย็นช่องแข็ง..ดีกว่าช่องธรรมดา


เด็กร่วมทดลองน้ำเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของแข็งโดยการนำน้ำไปแช่เย็น และทำหวานเย็น


เด็กทดลองการดูดซึมของน้ำว่าวัสดุชนิดใดบ้างที่ดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน


เด็กๆ ร่วมทดลองน้ำผสมกับน้ำมันสังเกตว่าผสมกันหรือแยกส่วนกัน


วาดภาพโดยใช้น้ำแข็งสีต่างๆ 
เด็กๆ ได้วาดภาพตามจินตนาการโดยใช้น้ำแข็งสี


 ทดลองการเกิดสายรุ้ง จากการฉีดน้ำให้เป็นฝอยผ่านแสงอาทิตย์ 
เด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้ว่าวัสดุใดที่ใช้กันฝนโดยทดลองฉีดน้ำให้เป็นฝอย


เด็กร่วมคั้นน้ำผัก-ผลไม้ โดยใช้เครื่อง เพื่อเรียนรู้ว่าน้ำมีในพืชผัก-ผลไม้
เด็กทดลองคั้นมะเขือเทศด้วยมือ เพื่อเรียนรู้น้ำมีใน พืชผัก-ผลไม้


สำรวจท่อประปาในโรงเรียน พร้อมทั้งจดบันทึก
สำรวจท่อน้ำประปาไปที่ไหนบ้าง..อ๋อ ที่ล้างมือ ที่ฝึกบัวอาบน้ำนี่เอง


วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4

วันพุธ ที่ 3 กรกฏาคม 2556


กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์ทบทวนเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้วเรื่องความลับของแสง และเรื่องวิทยาศาสตร์          
          อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้กับนักศึกษาคนละ 2 แผ่น และอาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับงานคือ ให้นักศึกษาพับกระดาษยังไงก็ได้ให้ได้ 8 แผ่นและทุกคนวาดรูปอะไรก็ได้ที่ตัวเองต้องการลงไปในกระดาษทั้ง 8 หน้า แต่ข้อแม้คือแต่ละหน้าจะต้องวาดเพิ่มที่ละอย่างจนเป็นรูปร่างในแผ่นที่ 8 เสร็จแล้วให้นักศึกษาทุกคนเปิดภาพวาดของตัวเองอย่างรวดเร็วจะเหมือนว่าภาพสามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งดิฉันวาดเป็นรูปโดเรมอน ดังนี้

รูปภาพ : โดเรมอนเคลื่อนไหว

องค์ความรู้ในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ พอดูเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำและส่งในชั่วโมง ซึ่งมีหัวข้อและเนื้อหา ดังนี้

รูปภาพ : Mind Mapping เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ


 มหัศจรรย์ของน้ำ

           น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ จึงไม่แปลกที่อากาศร้อนๆ สิ่งมีชีวิตถึงรู้สึกอ่อนเพลียแต่ถ้าเราดื่นน้ำเราก็จะรู้สึกหายอ่อนเพลียเรา เพราะน้ำที่เราดื่มเข้าไปจะช่วยชดเชยน้ำที่หายไปได้ สิ่งมีชีวิตบนโลกล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ดังตัวอย่างการทดลองนี้
                    อุปกรณ์  1.  ผลไม้ 2 ชนิด เช่น แอปเปิ้ล และแครท  2.  เครื่องบด  3.  ถ้วยเปล่า 2 ใบ
                    ทดลอง  นำผลไม้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบดหรืออาจจะใช้มีดสับให้ละเอียดก็ได้ แล้วตักใส่ถ้วยเปล่าใบแรก ใบที่สองให้ลองบีบผลไม้ที่เราบดละเอียดจะเห็นว่ามีน้ำไหลออกมา
                       
          ร่างกายมนุษย์จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% ผักและผลไม้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90% มนุษย์เราจะขาดน้ำได้แค่ 3 วันเท่านั้น อูฐขาดน้ำได้ 4 วัน พืชในทะเลทรายต้องเก็บกักน้ำไว้เป็นจำนวนมากเมื่อเวลาฝนไม่ตก

  คุณสมบัติของน้ำ

           มี 3 สถานะ  คือ  1.  ของแข็ง  เช่น  น้ำแข็ง
                                     2.  ของเหลว  เช่น  น้ำดื่ม น้ำที่เราอาบ
                                     3.  ก๊าซ  ได้แก่ไอน้ำ
           การทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
                      วิธีที่ 1 เริ่มแรกนำน้ำแข็งใส่หม้อที่มีความทนต่อความร้อนแล้วตั้งไฟ พอไฟมีความร้อนจัดน้ำแข็งก็จะละลายกลายเป็นของเหลว แล้วถ้าเราต้มน้ำไปเรื่อยๆ น้ำก็จะกลายเป็นไอน้ำ ไอน้ำก็มีความร้อนที่สามารถทำให้น้ำแข็งที่อยู่ชั้นที่ 2 ที่เรามาวางอีกละลายได้
                      วิธีที่ 2  นำภาชนะมาวางแบบที่ 1 แก้วน้ำ และแบบที่ 2 จานกว้าง จากนั้นนำน้ำในประมาณเท่ากันมาเทลงลงภาชนะทั้ง 2 แล้วนำไปตากแดดอย่างน้อย 10 วัน จะเห็นว่าน้ำในจานจะแห้งเร็วกว่าน้ำที่อยู่ในแก้ว ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าน้ำจะระเหยเมื่อโดนความร้อนและจะระเหยเฉพาะส่วนผิวน้ำเท่านั้น ดังรูปต่อไปนี้
รูปภาพ : การระเหยของน้ำ

  การเกิดฝนตก

                   
รูปภาพ : วัฏจักรของฝน
         ฝนตกเกิดจาก น้ำโดนความร้อนของแสงจากดวงอาทิตย์หรือความร้อนอื่นใดที่ใช้ในการต้มน้ำ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน พอมากเข้าอากาศไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านี้ต่อไปได้ น้ำก็จะหล่นลงมายังผืนโลกให้เราเรียกขานกันว่าฝนตก      

การขยายตัวของน้ำ

      
          การทดลอง นำน้ำใส่แก้ว 1 แก้วให้เต็มพอดี จากนั้นนำกระดาษแข็งมาปิดปากแก้ว ดังรูป


          นำไปแช่ในช่องฟิตรอจนน้ำแข็งตัว พอน้ำแข็งตัวเราจะสังเกตเห็นว่ากระดาษแข็งที่เราปิดไว้สนิทตอนแรกตอนนี้ไหมมันถึงโผล่ออกมา ดังรูป
   


          คือว่าสสารบนโลกนี้จะมีโมเลกุลเป็นตัวประกอบน้ำกับน้ำแข็งก็เช่นเดียวกัน น้ำจะมีโมเลกุลอัดแน่นมากกว่าน้ำแข็ง ดังรูป       


           ดังนั้น ตอนแรกเราใส่นำจนเต็มแก้วโมเลกุลอยู่ในระดับที่พอดีกับแก้ว พอน้ำแข็งตัวโมเลกุลของน้ำที่อัดกันแน่นก็จะคลายตัวออกเป็นโมเลกุลน้ำแข็งเป็นแบบหลวมที่มันขนาดใหญ่ขึ้นจึงดันกระดาษที่ปิดไว้ออกมา ดังรูป




ความแตกต่างระหว่างน้ำทะเลกับน้ำจืด

          เราจะสามารถว่ายน้ำในน้ำทะเลง่ายกว่าน้ำจืด ดูจากการทดลอง "แครทลอย"ของคุณโบกี้ ดังนี้
               อุปกรณ์  1.  น้ำเกลือ  2.  แครทที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก 1 ชิ้น  3.  แก้ว 1 ใบเติมน้ำครึ่งแก้ว
               การทดลอง  นำแก้ว 1 ใบที่เติมน้ำครึ่งแก้วมาวาง ดังรูป



              แล้วนำแครทที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก 1 ชิ้นวางลงไปจะเห็นว่าแครทจมลงไปก้นแก้ว แต่เราเติมน้ำเกลือลงไปเรื่อยๆ อีกครึ่งแก้วจะเห็นว่าแครทเริ่มลอยขึ้นมาเรื่อยๆ ดังรูป



             ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นกว่าน้ำธรรมดา ที่เราเติมน้ำเกลือด้วยกรวยนั้นก็เพราะว่าน้ำเกลือจะได้อยู่ข้างล่างแก้วแล้วน้ำธรรมดาซึ่งเบาสุดจะลอยอยู่ข้างบนแครทเลยลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำเกลือจะลอยขึ้นไปบนน้ำธรรมดาไม่ได้แครทจึงลอยอยู่ระหว่างน้ำทั้งสอง ดังรูป 
  


งานที่อาจารย์สั่งครั้งต่อไป

          ให้นักศึกษาคิดสือหรือของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย โดยทำจากเศษวัสดุเหลือใช้และเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ที่เด็กปฐมวัยสามารถประดิษฐ์ได้เองมาคนละ 1 อย่าง ซึ่งชิ้นงานของดิฉันคือ ของเล่นตุ๊กตาล้มลุก ดังรูป

รูปภาพ : สื่อของเล่น (ฉบับร่าง) เรื่อง ตุ๊กตาล้มลุก




วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน 2556



กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายเนื้อหาเรื่องของวิทยาศาสตร์ จากสัปดาห์ที่ 2 ออกมาในรูปแบบ Mind Mapping มีเนื้อหา ดังนี้

รูปภาพ : เรื่องของวิทยาศาสตร์
          อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ว่าครูปฐมวัยจะสามารถนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย เนื้อหาใน VDO พอสรุปคราวๆ มีดังนี้

ความลับของแสง


   แสงช่วยให้เรามองเห็นได้

          การทดลอง วิธีที่ 1 นำกล่องใบใหญ่มาเจาะรูด้านหน้า แล้วเรามองเข้าไปในกล่องนั้นก็จะมองไม่เห็นว่าอะไรอยู่ในกล่อง เราก็เจาะรูเพิ่มทางด้านขวาแล้วนำสิ่งของลงไปใหม่จากนั้นนำไฟฉายมาส่องทางที่เราเจาะรูใหม่ก็จะเห็นสิ่งของในกล่องนั้นชัดมากขึ้น
         ** จะเห็นได้ว่าเวลาที่ไฟดับแล้วสักพักไฟมา ตาเราก็จะมองเห็นภาพแบบมัวๆ เพราะเป็นการปรับแสงในเวลารวดเร็วเกินไปจึงทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ไม่ชัดสักพักสายตาเราก็จะเป็นปกติ

         ประโยชน์ของแสง

                     การทดลอง วิธีที่ 1 นำกระดาษแข็ง 2 แผ่นมาเจาะรูกลมไว้ตรงกลาง เปิดหลอดไฟตั้งตรงไว้ในห้องมืดแล้วนำกระดาษแผ่นแรกมาถือไว้หน้าหลอดไฟจะเห็นว่าแสงจะมาแค่ตรงที่เราเจาะรูไว้เท่านั้น  (**แสงทะลุออกมาเป็นเส้นตรง)
                                        วิธีที่ 2 นำกระดาษแข็งแผ่นที่ 2 วางหน้ากระดาษแผ่นที่ 1 ให้รูกลมนั้นตรงกันแสงก็ยังผ่านรูไปเป็นวงกลมด้านหลังของกระดาษทั้ง 2    
                                        วิธีที่ 3 นำกระดาษแข็งทั้ง 2 แผ่นจากวิธีที่ 2 วางเยื้องกันจะเห็นว่าแสงจะผ่านแค่กระดาษแผ่นแรกไม่ทะลุถึงแผ่นข้างหลัง                     

   การสะท้อนของแสง



รูปภาพ : การสะท้อนของแสงลงบนกระจกเงา

          อุปกรณ์       1. ไฟฉาย            2. กระจกเงา

          การทดลอง วิธีที่ 1 วางกระจกเงาราบไปกับพื้นแล้วฉายไฟฉายลงไปตรงๆ บนกระจกเงา แสงก็จะสะท้อนออกมาตรงๆ เหมือนกับที่เราวาง
                             วิธีที่ 2 ลองฉายไฟฉายแบบเฉียงนิดหน่อยแสงที่เราส่องกระจกเงาก็จะเฉียงไปทางด้านตรงข้ามกับที่เราส่องกระจกเงาด้วย
                             วิธีที่ 3 ส่องไฟฉายให้เฉียงมากๆ แสงตรงข้ามกับที่เราส่องมากยิ่งขึ้นด้วย ก็แสดงว่าแสงจะสะท้อนตรงข้ามกับแสงที่ฉาย
          ประโยชน์ของการสะท้อนแสง
                       1.  การส่องกระจก ซึ่งเวลาที่เราส่องกระจก กระจกก็จะมีภาพตรงกันข้ามกับเรา
                       2.  การเพิ่มจำนวนสิ่งของ ซึ่งมีวิธีการทดลอง ดังนี้
                            อุปกรณ์ 1.  รูปปั้นม้า  2.  กระจกเงา
                            การทดลอง วิธีที่ 1 นำกระจกเงามาวางตั้งตรงแล้วนำรูปปั้นม้ามาวางด้านหน้าของกระจก
                                             วิธีที่ 2  นำกระจกเงามา 2 แผ่นวางตั้งตรงและวางมุม 90 องศาเซลเซียสแล้วนำรูปปั้นม้ามาวางระหว่างกระจก 2 แผ่นนี้จะเห็นว่ามีภาพของรูปปั้นม้า (4 ภาพ) เกิดขึ้นเยอะแยะเลย
                                             วิธีที่ 3 บีบกระจกจากวิธีที่ 2 ให้แคบลงอีกจะเห็นว่ามีภาพของรูปปั้นม้า (5 ภาพ) ในกระจกเยอะว่าวิธีที่ 2
                                             วิธีที่ 4 บีบกระจกให้แคบลงมากว่าวิธีที่ 2 ก็จะได้ภาพรูปปั้นมาเพิ่มมาอีกหนึ่งภาพรวมเป็น 6 ภาพ ซึ่งหมายความว่า ** ถ้าองศาแคบมากเท่าไรเราก็จะเห็นสิ่งของนั้นเยอะแยะมากมายก็คือกระจกทั้งสองบานต่างก็สะท้อนภาพไปมานั่งเอง
                           อุปกรณ์  1.  รูปปั้นม้า 2.  กระจกเงา
                           การทดลองจะคล้ายๆ กับวิธีที่แล้วแต่ต่างกันที่ว่า นำกระจกเงาทั้งสองแผ่นหันหน้าชนกันแล้วนำรูปปั้นม้ามาวางตรงกลางเราก็จะเห็นภาพรูปปั้นม้าหลายๆ ภาพในลักษณะยืนเรียงกันตั้งหลายภาพ


   การเกิดเงา



รูปภาพ : การเกิดเงา


          ทดลอง  วิธีที่ 1 เราฉายไฟฉายตรงไปวัตถุก็จะเห็นเงาเหมือนรูปภาพข้างบน

                        วิธีที่ 2 เราฉายไฟฉายซ้าย-ขวาตรงไปวัตถุก็จะเกิดเงาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเงา


   รุ้งกินน้ำ



รูปภาพ : รุ้งกินน้ำ
          การทดลอง  ของคุณโมกี้คือ หันหลังให้แสงอาทิตย์แล้วฉีดน้ำในกระบอกไปเรื่อยๆ ถ้าเราสังเกตดีๆ จะเห็นเป็นรุ้งกินน้ำ ** สีม่วง สีคาม สีน้ำเงิน สีเหลือง สีแสด สีแดง สีเขียว จะร่วมกันอยู่ให้เราเห็นเป็นสีขาว

   จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสง

          มี 3 ชนิด  1. วัตถุโปร่งแสง คือจะมองไม่เห็นของอยู่ข้างหลัง เช่น พลาสติกขุน  เป็นต้น
                         2.  วัตถุโปร่งใส คือจะมองเห็นของอยู่ด้านหลัง  เช่น กระจก และพลาสติกใส เป็นต้น
                         3.  วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย เช่น มนุษย์ หิน และเหล็ก เป็นต้น

http://pongnengchildhood.blogspot.com/