วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การปิด Course...กับความทรงจำและความรู้ที่ได้รับ

          มีคนหลายคนบอกว่า..เมื่อเราเจอและรับรู้ประสบการณ์ใหม่มากๆ มันจะไปทับทมประสบการณ์เดิมๆ ที่เราเคยเจอมา แต่ !! ดิฉันกับคิดว่าไม่จริง !! เพราะประสบการณ์ใดก็ตามที่เราได้รับมารับย่อมจำได้เสมอขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจำหรืออยากลืมมันเองนั่งเอง ยิ่งที่ถ้าประสบการณ์ที่ดีจะมีใครบ้างที่อยากจะลืม เหมือนกันดิฉันที่ได้มาเจอเพื่อนๆ ปฐมวัยที่จันทรเกษมทั้งเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มและเพื่อนๆ ร่วมเอกทุกคน ทำให้ดิฉันรับประสบการณ์มากมายและเจอคุณครูที่อยู่ที่นี้ "การที่ครูขึ้นเสียงใช่ว่าครูไม่รักหรือเบื่อนักศึกษาสักนิด แต่ครูอยากให้นักศึกษาจบไปเป็นครูที่ดี มีคุณภาพ ท่านจึงได้เขี้ยวเข็ญเรา" ดิฉันมีภาพครั้งแรกของการเข้าเรียนและสรุปองค์ความรู้ ดังนี้



วันแรกของการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก




สรุปองค์ความรู้




วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชยครั้งที่ 2

วันอาทิตย์ 29 กันยายน 2556


กิจกิจกรรมในห้องเรียน

          วันนี้เป็นการเรียนชดเชยครั้งที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์การทดลอง ของเข้ามุม และของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของตนเองหน้าชั้นเรียน ซึ่งการทดลองของดิฉันคือ การตั้งไข่ (สามารถดูรายละเอียดการทดลองได้จาก blog ด้านล่าง)
          
ต้องมีการเซ็นชื่อก่อนเข้าเรียน

รูปภาพ : การเซ็นชื่อก่อนเข้าห้องเรียน

องค์ความรู้ในวันนี้

          วันนี้ดิฉันได้นำเสนองานและส่งงานที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนมากมาย คือ การจะสอนอะไรให้กับเด็กเราต้องนำเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กมาสอน มาคุยกับเด็ก ไม่ใช่นำเรื่องที่เด็กไม่รู้หรือห่างจากตัวเด็กมากเกินไปมาคุยเพราะเด็กจะไม่ได้รับอะไรเลยจากการสอนของเรา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ในวันนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องแรงเสียดทานที่ใกล้ตัวเด็กคือ กระดานลื่น ที่เด็กๆ เล่นอยู่ทุกวันนั่นเอง แต่ที่ดิฉันได้เตรียมไว้นำเสนอคือ การนำแรงเสียดทานไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของ การผลิตรองเท้าที่เวลาพื้นเปียกแล้วเด็กๆ เดินเข้าไปรองเท้ากับพื้นจะเกิดปฏิกิริยากันเกิดเป็นแรงเสียดทาน ทำให้เราเดินย้ำน้ำได้ช้าลงและทำให้เราไม่ลื่นหกล้มนั่นเอง

การนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่อง การตั้งไข่

รูปภาพ : ลำดับการสอนวิทยาศาสตร์เรื่อง การตั้งไข่


รูปภาพ : การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน


Concept และวิธีการทำสื่อเข้ามุม

รูปภาพ : การทำสื่อเข้ามุม


สื่อต่างๆ ที่เพื่อนกลุ่ม 103 นำส่งอาจารย์

รูปภาพ : รวมการส่งสื่อ กลุ่ม 103


เก็บตกภาพบรรยากาศการนำเสนองานในห้องเรียน





วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ 16

วันพุธ ที่ 25 กันยายน 2556

กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์จิตนา  สุขสำราญ ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับการสอบ การเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน 2556 และรวมรูปเล่มการศึกษาดูงาน
          และอาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น อาจารย์แจกสีไม้และสีเมจิก คนละ 1 กล่อง พร้อมกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่สั่งในวันนี้
         1. ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ลง Blogger ของตัวเอง ดังต่อไปนี้
                 1.1  บทความ
                 1.2  TV ครู
                 1.3  วิจัยที่ตัวเองเลือก
         2.  ให้นักศึกษาประเมินผู้สอนทาง Online ในเว็บไซต์ของคณะศึกษาศาสตร์



รูปภาพ : กิจกรรมในห้องเรียน







สรุปองค์ความรู้จาก Thai Teachers TV


Early Years Workshop : เวิร์กชอป ระดับปฐมวัย : การฟังและการตั้งคำถาม  : การอภิปราย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


       
        จากคลิปวีดีโอข้างต้น การฟังและตั้งคำถาม : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
        
        เด็กตั้งคำถามได้อย่างไรและทำไม
        ยาน ดูเบียว เจ้าหน้าที่ แผนงานระดับปฐมวัย จากโปรแกรมวัดผลแห่งชาติ กล่าวว่า คำถามอาจไม่ได้พูดออกมาแต่จะส่งทางการกระทำครูต้องพัฒนาทักษะความเข้าใจเมื่อเด็กตั้งคำถาม ดูการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่นดูว่าความคิดเขาไปถึงไหน คำถามของเด็กมักถามเวลาเด็กสำรวจโลกของเขา
        ไดแอน ริช์ จาก "ริช เลิร์นนิ่ง ออพพอทูนิทีส์" กล่าวว่า เด็กตั้งคำถามตลอดเวลา เด็กคือนักสำรวจโดยธรรมชาติ ระหว่างสำรวจสิ่งใดก็ตามเด็กจะตั้งคำถามเสมอ
        คริส รอส ครูโรงเรียนเนิร์สเชอรี อีฟแชม กล่าวว่า เขาจะตั้งคำถามบ่อยครั้งเด็กจะตั้งคำถามในวิธีที่แตกต่างมากมาย

ณ โรงเรียนเนิร์สเชอรี อีฟแชม
           วันนี้เด็กๆ ได้เล่นน้ำที่เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเด็กเลือกอยากจะเล่นเอง/ตัดสินใจเอง เด็กไม่กลัวเปียก ทำให้รองเท้า ถุงเท้าและเท้าของเด็กเปียกหมดความมหัศจรรย์ของน้ำทำให้เด็กสำรวจอย่างสนุกสนาน เด็กจะมีสมาธิมากในกิจกรรมที่พวกเขาเลือกเอง ผู้ใหญ่มีหน้าที่สังเกตเด็กใช้น้ำอย่างไร? บางครั้งเด็กเล่นเองครูก็เหมือนไม่มีส่วนร่วมถ้าไม่ได้ไปคลุกคลีกับเด็ก สำหรับครูการนำประสบการณ์นั้นมาใช้และพูดว่า "เราจะทำให้เด็กตั้งคำถามเองให้มากกว่านี้ได้อย่างไร เราจะวางหลักและสนับสนุนการเรียนรู้ในอนาคตให้เด็กได้อย่างไร" นั้นสำคัญ แต่สิ่งที่ครูต้องเตรียม คือ การเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กมากขึ้นแล้วค่อยหาอุปกรณ์ที่ตั้งคำถามได้มากขึ้นสร้างปัญหาขึ้นเพื่อให้เด็กหาทางแก้ แผนที่วางเอาไว้เด็กต้องตอบสนองได้อย่างดี
           มีเด็กคนหนึ่งที่ชอบทดลองหยิบจับนู้นนี้นั้นเด็กยังส่งผ่านไปยังคนอื่นให้เพื่อนๆ ช่วยทดลองโดยไม่พูดกันเลย พวกเขามีทักษะทางสังคม
           จะมีเด็กคนหนึ่งไม่ทำอะไร จนกระทั่งเห็นเพื่อนๆ เขาก็ตั้งคำถามขึ้นมา "พวกเขาทำอะไรอยู่? ถ้าฉันทำบ้างจะเป็นอย่างไร? อยากรู้ว่าจะทำอะไรได้อีก? ฉันทำบ้างได้ไหม?" เด็กจึงได้ร่วมกันทำกิจกรรม


รูปภาพ : การทำงานของเด็กที่ทำร่วมกัน คัดลอกจาก : TV ครู
           
           เด็กคนหนึ่งถือถังน้ำ อีกคนรินน้ำจากข้างบน อีกคนรองน้ำจากก๊อก แต่ไม่มีเสียงพูดกันเลย ที่เด็กบอกว่า "น้ำจะล้นแล้ว" แล้วดูต่อคือการคาดเดาหรือสันนิษฐาน เหมือนนักวิทยาศาสตร์บอกว่า "ฉันคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น"

           พอเด็กได้ออกนอกสถานที่ (พื้นที่ป่าของโรงเรียน) เด็กสำรวจแหล่งที่มาของน้ำได้ว่าไม่ได้มาจากก๊อกเท่านั้น ให้เด็กดูว่าน้ำเหมือนกันหรือไม่? เข้าใจที่มาของน้ำและการไหลของน้ำเพราะเด็กได้เห็นกับตาตัวเอง



รูปภาพ : แรงจูงใจของเด็กในการทำกิจกรรม

          เราต้องกล้าที่จะปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ปลูกฝังวินัยการตั้งคำถาม/การสำรวจให้พวกเขาได้



การนำไปประยุกต์ใช้


          ทำให้ดิฉันทราบว่าการสอนเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องไปตั้งคำถามให้เด็กเสมอๆ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นช่วงของการเรียนรู้ การอยากรู้อยากลองอยู่แล้วจึงทำให้เขาสงสัยและป้อนคำถามมาเอง แต่มิใช่ว่าผู้ใหญ่จะไม่สนใจหรือปล่อยปะละเลยเด็กแต่ผู้ใหญ่ควรให้คำตอบสำหรับเด็กให้ได้มากเท่าที่ควรและเตรียมสื่ออุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มาก ที่สำคัญให้เหมาะสมกับวัยเพื่อเด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกันเป็นประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์ตรงสำหรับเด็ก          



สรุปบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ



          วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวความรู้ทางวิทยาศาสตร์
          เด็กเล็กๆ มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม ทำให้เด็กได้รับรู้สิ่งแวดล้อมสิ่งที่อยู่รอบตัวด็ก เด็กสามารถสังเกตเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก


รูปภาพ : แนวความคิดของ Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 )


รูปภาพ : แนวความคิดของอัญชลี ไสยวรรณ (2547 :1-6 )


รูปภาพ : กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย


การนำไปประยุกต์ใช้

          วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวกับเด็กและมนุษย์เราทุกคน ผู้ใหญ่ที่ไม่จำเป็นเฉพาะครูปฐมวัยเท่านั้นควรส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย ให้เด็กได้เข้าใจและรู้ทันการก้าวหน้าของโลกเรา และการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กแต่ถ้าหากเรานำการสอนที่ยากๆ นี้มาจัดเป็นกิจกรรม การประดิษฐ์สื่อ การทดลอง การศึกษาจากสถานที่จริง (ทุกอย่างต้องปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้กระทำ) จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาส่วนหนึ่งสำหรับการสอนของเด็กปฐมวัย

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ปริญญานิพนธ์
ของ
สุมาลี  หมวดไธสง

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2554
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


รูปภาพ : Mindmapping การสรุปวิจัย


ภาพส่วนหนึ่ง : จากงานวิจัย



วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15

วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556


          กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาในกลุ่มลิงค์บล็อกกับอาจารย์เองและให้นักศึกษาทำไข่ตุ๋น โดยการปฏิบัติจริงในห้องเรียนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่เราได้เรียนทฤษฏีไป

รูปภาพ : การทำไข่ตุ๋นง่ายๆ

รวมรูปภาพการทำงาน