สัปดาห์ที่ 2
วันพุธ ที่ 19 มิถุนายน 2556
กิจกรรมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ซึ่งดิฉันอยู่กลุ่มที่ 3 และมีหัวข้องาน 6 หัวข้อ ดังนี้1) ความหมายของวิทยาศาสตร์
2) ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3) พัฒนาการทางสติปัญญา (กลุ่มดิฉันรับผิดชอบ)
4) การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลย์
5) แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
งานที่อาจารย์มอบหมายคือ ร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มของตัวเองทั้ง 5 หัวข้อและอีก 1 หัวข้อของกลุ่มตนเอง แล้วเขียนสรุปเป็นใจความสำคัญของกลุ่มตนเองเป็นงานชิ้นที่ 1 ส่งตัวแทนในกลุ่มออกไปรับกระดานกับอาจารย์แล้วเป็นสอบถามถึงความคิดเห็นของกลุ่มอื่นๆ ในหัวข้อที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นงานชิ้นที่ 2 และสุดท้ายงานชิ้นที่ 3 ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มรวบรวมเนื้อหาที่กลุ่มอื่นๆ ได้เสนอมาสรุปเป็นคอนเซ้ปเดียวอาจจะทำเป็นตารางเปรียบเทียบ Mapping และวงกลมเปรียบเทียบก็ได้แล้วตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
องค์ความรู้ในวันนี้
ความหมายของวิทยาศาสตร์ พจนานุกรม 2545:744 ให้ความหมายว่า ความรู้ได้จากการสังเกต ค้นคว้า จากสิ่งแวดล้อมจากหลักฐานเหตุผลแล้วจัดเป็นระเบียบ
ดร.อาเทอร์ เป็นความรู้ผ่านการทดสอบ สะสมไว้อย่างมีระบบ
สรุปคือ วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ กระบวนการ ที่ใช้ในการค้นหาความรู้อย่างมีระบบ
** ความหมายของวิทยาศาสตร์ของดิฉัน วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สังเกต ค้นคว้าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล แล้วนำมาทดสอบหาความจริงและเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
** ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในความคิดของดิฉัน ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับชีวิตประวันของมนุษย์เรามากมายจนแยกไม่ออกตั้งแต่ตื่นกระทั่งเราหลับ ซึ่งทำให้มนุษย์เราสะดวกสะบายเช่น การเดินทาง เป็นต้น
พัฒนาการทางสติปัญญา ความเจริญงอกงามด้านความสามารถในการคิด ของแต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ มี 2 กระบวนการ
1) กระบวนการดูดซึม ดูดซึม ซึมซาบความรู้และประสบการณ์ใหม่
2) กระบวนการปรับโครงสร้าง เอาความรู้เดิมเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่
การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เป็นโครงสร้างการปรับตัวจากความรู้เดิมให้เข้ากับความรู้ใหม่
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เกรก Graig กล่าวแนวคิดพื้นฐานไว้ 5 ประการใน "Graig 's Basic Concepts" ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลง 2. แตกต่าง 3. ปรับตัว 4. พึ่งพา 5. สมดุล
** แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มดิฉัน วิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันสิ่งมีชีวิตต้องมีการปรับตัวพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้เกิดความสมดุล
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต กระบวนการวิทยาศาสตร์การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ ผลผลิต สิ่งที่ได้หลังจากการทำการทดลอง เช่น การให้เด็กทำกิจกรรม (กระบวนการ) ดูผลงานเด็ก (ผลผลิต)
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน